
ทส.จัดประชุมบริหารการจัดการน้ำ และประเด็นการปฏิรูป
โพสเมื่อ : 4 เม.ย. 60 13:57:44
วันนี้ (3 เมษายน 2560) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและประเด็นการปฏิรูป โดยมี นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผู้แทนกระทรวงมหาดไทยและผู้แทนกระทรวงกลาโหม ณ ห้องประชุม 301 อาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยเป้าหมายหลักของการประชุมในครั้งนี้ คือ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีน้ำอย่างเพียงพอด้วยระบบการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม(อุปโภค-บริโภค/รักษานิเวศ/เกษตร/อุตสาหกรรม),เพื่อให้มีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นเอกภาพ และ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้น้ำ ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในประเทศ มีน้ำที่ไหลซึมลงใต้ดิน 73,382 ล้าน ลบ.ม./ปี, ปริมาณเก็บกัก 97,143 ล้าน ลบ.ม./ปี, น้ำบาดาลใช้การได้ 15,994 ล้าน ลบ.ม./ปี และปริมาณน้ำไหลลงทะเล 98,708 ล้าน ลบ.ม./ปี ซึ่งการวิเคราะห์จุดอ่อนและประเด็นการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ ด้านการจัดการน้ำอุปโภค บริโภค มีจุดอ่อนคือ มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ดังนั้นประเด็นปฏิรูป จึงเร่งพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ให้ได้เกณฑ์มาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นต้น
ในส่วนของผลลัพธ์จากการปฏิรูป (แผนปฏิบัติการ ปี 2560-2561) มี 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
โดยเป้าหมายหลักของการประชุมในครั้งนี้ คือ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีน้ำอย่างเพียงพอด้วยระบบการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม(อุปโภค-บริโภค/รักษานิเวศ/เกษตร/อุตสาหกรรม),เพื่อให้มีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นเอกภาพ และ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้น้ำ ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในประเทศ มีน้ำที่ไหลซึมลงใต้ดิน 73,382 ล้าน ลบ.ม./ปี, ปริมาณเก็บกัก 97,143 ล้าน ลบ.ม./ปี, น้ำบาดาลใช้การได้ 15,994 ล้าน ลบ.ม./ปี และปริมาณน้ำไหลลงทะเล 98,708 ล้าน ลบ.ม./ปี ซึ่งการวิเคราะห์จุดอ่อนและประเด็นการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ ด้านการจัดการน้ำอุปโภค บริโภค มีจุดอ่อนคือ มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ดังนั้นประเด็นปฏิรูป จึงเร่งพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ให้ได้เกณฑ์มาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นต้น
ในส่วนของผลลัพธ์จากการปฏิรูป (แผนปฏิบัติการ ปี 2560-2561) มี 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่ แบ่งตามระดับลุ่มน้ำ/ระดับภาค/ระดับพื้นที่ โดยแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจน
2. เร่งรัดสำรวจ และปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ ในพื้นที่วิกฤตน้ำท่วม และเขตเมืองที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
3. ปรับปรุงแหล่งน้ำ
3. ปรับปรุงแหล่งน้ำ
4. ศึกษาและพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำใหม่ ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ขุมเหมืองเก่า และเชื่อมโยงเครือข่าย
5. จัดทำแผนและขับเคลื่อนแผนป้องกันน้ำท่วมในเขตเมืองที่มีน้ำท่วมซ้ำซาก
ในโอกาสนี้ นายวิจารย์ สิมาฉายา (ปกท.ทส.) ได้พิจารณาถึงการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนเรื่องน้ำโดยตรง ที่ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการคิดว่าจะทำหรือไม่ และเปิดโอกาสให้ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและประเด็นการปฏิรูป พร้อมทั้งร่วมกันหารือทุกประเด็นอย่างละเอียด
ข่าวเด่นในกระทรวงอื่นๆ :
