Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
เกี่ยวกับสำนักงาน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
แผนปฏิบัติราชการ
คำรับรอง และ รายงานผลการปฏิบัติราชการ
แผนงานโครงการ
เอกสารเผยแพร่
ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อม
จัดซื้อจัดจ้าง
งานบริการ
ภาพกิจกรรม
วิดีโอ
คำถามที่พบบ่อย
ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ E-Mail
Q: ป่าชายเลน มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
A: ประโยชน์ทางตรง 1. ใช้ก่อสร้างทำเฟอร์นิเจอร์ : ไม้จากป่าชายเลน เช่น โกงกาง แสม ตะบูนเหมาะที่จะใช้ทำเสาเข็ม คาน โครงสร้างหลังคา 2. ทำฟืนเผาถ่าน : ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกาง นำมาทำฟืนและเผาเป็นถ่านคุณภาพดี 3. ใช้เป็นสมุนไพร : ป่าชายเลนเป็นแหล่งสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคต่างๆ เช่นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ประโยชน์ทางอ้อม 1. ด้านประมง ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารสำคัญ และเป็นแหล่งอาศัยหลบภัยของสัตว์น้ำ 2. เป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ 3. ป่าชายเลนมีหน้าที่ปรับสมดุลให้กับระบบนิเวศน์ บนบก และระบบนิเวศน์ในทะเลป้องกันการพังทลายของดินชายฝั่ง 4. กรองของเสียที่จะไหลออกสู่ทะเล ลดความรุนแรงของลมพายุ และเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ
Q: ป่าพรุมีลักษณะอย่างไร
A: ป่าพรุ คือ ป่าที่มีพื้นที่ลุ่มน้ำขังดินเป็นหล่มเลนและมีซากอินทรีย์วัตถุทับถมทำให้ดินยุบลงตัวได้ง่าย พืชที่ขึ้นในป่าพรุจึงมีการพัฒนาและมีความหลากหลาย ส่วนสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ป่าพรุเป็นป่าที่มีลักษณะเด่นแตกต่างไปจากป่าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพป่าขึ้นอยู่ลักษณะของดินหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ป่าพรุเป็นป่าในเขตร้อนประเภทไม่ผลัดใบเช่นเดียวกับป่าดงดิบชื้น แต่สภาพป่านั้นแตกต่างจากป่าประเภทอื่นๆ โดยสิ้นเชิง
Q: ป่าเปียก มีความหมายว่าอย่างไร
A: ป่าเปียก เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดไฟป่าในหน้าแล้ง โดยดำริให้ปลูกป่าเป็นแนวสลับกับการปลูกพืชไร่ เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันไฟป่าหรือการสูบน้ำไปเก็บไว้ในที่สูงสุดแล้วค่อยๆ ปล่อยน้ำให้ไหลซึมลงดินเพื่อเพิ่มความชุมชื้นเข้าสู่ระบบป่าเปียก
Q: การจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คืออะไร
A: ป่า 3 อย่าง คือ การปลูกป่า 3 ชนิด คือ ไม้ผล ไม้เนื้อแข็งที่ใช้ทำการก่อสร้าง และไม้ที่ใช้ทำเชื้อเพลิง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ การได้ประโยชน์ตามของพืชชนิดแล้ว ยังได้ประโยชน์ข้อที่ 4 คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารอีกด้วย
Q: กรณีมีเหตุฉุกเฉินจากอุบัติภัยด้านสารเคมีควรทำอย่างไร
A: รีบแจ้งเหตุฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสายด่วน 1650หรือ โทร 02-2982405 หรือ กรมควบคุมมลพิษ
หน้า
1
2
3
>
>>
จาก 7 หน้า