
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดการประชุมวิชาการนานานชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พืชวงศ์ขิ
โพสเมื่อ : 24 ส.ค. 58 10:36:37
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ไปยังโรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พืชวงศ์ ขิง - ข่า ครั้งที่ 7 "ขิง - ข่า เพื่อชีวิต" และทรงบรรยายพิเศษเรื่อง "ขิง – ข่า ในวัฒนธรรมไทย” อีกทั้งทรงรับฟังบรรยายพิเศษในหัวข้อ "Kai Larsen's Contribution to Understanding the Taxonomy of the Ginger Family in South East Asia" จากศาสตราจารย์ ดร. เฮนริค บัลสเลฟ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยออร์ฮูส ประเทศ เดนมาร์ก ประธานคณะกรรมการวิชาการและกองบรรณาธิการโครงการพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทย ก่อนที่จะทรงทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานวิจัยพืชวงศ์ขิง – ข่า , นิทรรศการ " พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ" นิทรรศการ "เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" นิทรรศการภาพถ่ายและภาพวาด "มหัศจรรย์พรรณไม้เทิดพระเกียรติฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ" และทรงฉายพระรูปร่วมกับคณะกรรมการจัดงาน ผู้บริหาร และผู้สนับสนุนการจัดงาน ในโอกาสนี้ด้วย
การประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พืชวงศ์ ขิง - ข่า ครั้งที่ 7 "ขิง - ข่า เพื่อชีวิต" ครั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 23 สิงหาคม 2558 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ "พระมารดา แห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ" และในโอกาสปีพระราชสมภพครบรอบ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะทรงเป็นบุคคลสำคัญด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ของประเทศไทย ทรงศึกษาวิจัยพืชวงศ์ขิง -ข่า และวงศ์ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสากล ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้มีนักวิชาการ นักวิจัย จากทั่วโลกเดินทางมาร่วมประชุม 22 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยพืชวงศ์ขิง – ข่า และวงศ์ใกล้เคียง
พืชวงศ์ขิง – ข่า จัดเป็นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายสูงวงศ์หนึ่งของโลก มีการกระจายพันธุ์อยู่มากตามภูมิภาคประเทศในเขตร้อนชื้นแถบเส้นศูนย์สูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นแหล่งกระจายพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์สูงในประเทศไทย มีพืชวงศ์ขิง – ขิง อยู่กว่า 300 ชนิด จาก 24 สกุล หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของพืชวงศ์ขิง – ข่า จากทั่วโลก
สำหรับพืชสกุลมหาหงส์ในประเทศไทยพบอยู่ประมาณ 23 ชนิด มหาหงส์ส่วนใหญ่มีกลิ่นหอมหวาน มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในวงการสปาหรือสุคนธบำบัด ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 3 ปี นักวิจัยด้านพฤกษเคมีขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้ทำการวิจัยพืชสกุลมหาหงส์ 5 ชนิด และสามารถสกัดสารประกอบทางเคมีที่มีศักยภาพทางเภสัชกรรม ได้ประมาณ 70 ชนิด ซึ่งต่อมาทีมนักวิจัยได้เลือกมาทำการศึกษาเชิงลึกเพียง 3 ชนิด คือ ตาเหินหลวง ตาเหินภู และมหาหงส์เหลือง นักวิจัยได้เลือกสารออกฤทธิ์ที่มีคุณสมบัติ ต้านอนุมูลอิสระ บรรเทาอาการบวมแดง ลดริ้วรอย และรอยด่างดำ มาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต้นแบบของ "Massage Cream” , "Day & Night Cream” และ "Facial Serum” ซึ่งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้ดำเนินกาจดอนุสิทธิบัตรไปแล้ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และผลิตภัณฑ์ครีมบรรเทาอาการบวมของผิวหนัง
ของประเทศไทย ทรงศึกษาวิจัยพืชวงศ์ขิง -ข่า และวงศ์ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสากล ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้มีนักวิชาการ นักวิจัย จากทั่วโลกเดินทางมาร่วมประชุม 22 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยพืชวงศ์ขิง – ข่า และวงศ์ใกล้เคียง
พืชวงศ์ขิง – ข่า จัดเป็นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายสูงวงศ์หนึ่งของโลก มีการกระจายพันธุ์อยู่มากตามภูมิภาคประเทศในเขตร้อนชื้นแถบเส้นศูนย์สูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นแหล่งกระจายพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์สูงในประเทศไทย มีพืชวงศ์ขิง – ขิง อยู่กว่า 300 ชนิด จาก 24 สกุล หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของพืชวงศ์ขิง – ข่า จากทั่วโลก
สำหรับพืชสกุลมหาหงส์ในประเทศไทยพบอยู่ประมาณ 23 ชนิด มหาหงส์ส่วนใหญ่มีกลิ่นหอมหวาน มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในวงการสปาหรือสุคนธบำบัด ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 3 ปี นักวิจัยด้านพฤกษเคมีขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้ทำการวิจัยพืชสกุลมหาหงส์ 5 ชนิด และสามารถสกัดสารประกอบทางเคมีที่มีศักยภาพทางเภสัชกรรม ได้ประมาณ 70 ชนิด ซึ่งต่อมาทีมนักวิจัยได้เลือกมาทำการศึกษาเชิงลึกเพียง 3 ชนิด คือ ตาเหินหลวง ตาเหินภู และมหาหงส์เหลือง นักวิจัยได้เลือกสารออกฤทธิ์ที่มีคุณสมบัติ ต้านอนุมูลอิสระ บรรเทาอาการบวมแดง ลดริ้วรอย และรอยด่างดำ มาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต้นแบบของ "Massage Cream” , "Day & Night Cream” และ "Facial Serum” ซึ่งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้ดำเนินกาจดอนุสิทธิบัตรไปแล้ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และผลิตภัณฑ์ครีมบรรเทาอาการบวมของผิวหนัง
ข่าวเด่นในกระทรวงอื่นๆ :
