เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 ณ ห้องบอลรูม 2 – 3 โรงแรมรอยัล ออร์คิด เซอราตัน กรุงเทพมหานคร ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็น ทางการ ครั้งที่ 12 การประชุมประเทศภาคีความตกลงว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ครั้งที่ 8 การประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม +3 ครั้งที่ 11 การประชุมรัฐมนตรี ด้านสิ่งแวดล้อมเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 3 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยโอกาสนี้นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานการจัดประชุมและร่วมให้การต้อนรับ รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมจากประเทศอาเซียน การประชุมครั้งนี้ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24- 28 กันยายน 2555 โดยในที่ประชุมมีประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจราที่เกี่ยวข้องกับการปก ป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 100 คน เข้าร่วมหารือและพบปะเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ อาทิ เรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพ การจัดการทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและธรรมาธิบาลสิ่งแวดล้อมทางทะเล และชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยหัวข้อในการหารือดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของรัฐบาล ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนและเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สำหรับผลการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารที่สำคัญ 3 ฉบับ ประกอบด้วย
1. ข้อมติกรุงเทพว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการยืนยันพันธะสัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. แผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีเป้าประสงค์ที่สำคัญในการดำเนินการเชิงรุก เพื่อให้เกิดการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะจากภาคพลังงาน ป่าไม้ และภาคเกษตร
3. แถลงการณ์ร่วมของสมาชิกอาเซียนที่จะนำไปเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 11 หรือ CBD Cop 11 ที่เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียน พยายามที่จะผลักดันให้ประเทศภาคีอนุสัญญาดำเนินการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพ มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน แบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญา รวมทั้งกระตุ้นให้มีการสนับสนุนทางการเงินและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม ภายใต้หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่ต่างกัน รวมทั้งการดำเนินการเชิงรุกในการสร้างความตระหนักของสาธารณชนให้มีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
สำหรับปัญหาหมอกควันข้ามแดน ที่ประชุมได้ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละประเทศรวมทั้งกิจกรรมที่ร่วม กันในระดับภูมิภาค โดยที่ประชุมกำหนดให้มีการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยการป้องกันไฟป่า การจัดการป่าพรุอย่างยั่งยืน การตรวจวัดและติดตามคุณภาพอากาศ และ Hot spot โดยจะมีการพัฒนาระบบการพยากรณ์ระดับความรุนแรงของไฟและการอบรมเจ้าหน้าที่ จากประเทศสมาชิกอาเซียนในการใช้ประโยชน์จากระบบดังกล่าวเพื่อวางแผนในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้อุทยานแห่งชาติ แนท มะ ตาวของพม่า และอุทยานแห่งชาติ อูมิงถัวของเวียดนาม เป็นอุทยานมรดกอาเซียน อีกทั้งได้มีการหารือกับพันธมิตรอีก 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา เห็นชอบร่วมกันในการผลักดันให้มีการนำผลลัพธ์ของการประชุม Rio+20 ไปสู่การปฏิบัติรวมทั้งการดำเนินการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ในโอกาส