
มลภาวะจากท่อไอเสียรถ
ยวดยาน พาหนะต่าง ๆ ที่แล่นไปด้วยพลังงานการเผาไหม้ของน้ำมันเบนซิน (Benzine = C6H6) น้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน รถมอเตอร์ไซด์ รถสามล้อเครื่อง เรือ จะปล่อยสารพิษ ไอควัน ก๊าซต่าง ๆ หลายชนิดออกมาทางท่อไอเสีย สู่อากาศในอัตราสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดอากาศเสียอันสำคัญ และควบคุมแก้ไขได้ยากยิ่ง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครมีรถยนต์เพิ่มขึ้นทุกปี แม้เก็บภาษีรถยนต์แพงเท่าใดก็ตาม เพราะการคมนาคมกลายเป็นปัจจัยอันสำคัญของมนุษย์
ควันดำของรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน สิ่งหลุดออกมามีทั้ง ไอเสีย ก๊าซต่าง ๆ ตลอดจนเขม่าแยกออกมาได้ดังนี้ คือ
ไอเสียประกอบด้วย
- คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)
- ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
- ไนตริคออกไซด์ (NO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (NO4)
- พวกอัลดิไฮด์ (Aldehyde)
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide)
เขม่า ประกอบด้วย
- ผงคาร์บอน (Carbon)
- สารประกอบของตะกั่ว (Teraelthy Lead)
- สารจำพวกฟีนอลส์ (Phenol)
- น้ำมันรถยนต์ (Fuel)
- สารอินทรีจำพวกไนโตร (Nitro organic)
- ยางเหนียว ซึ่งประกอบด้วยโปลี่ซายคลิก อโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons)
ส่วนควันดำของรถที่ใช้น้ำมันดีเซลนั้นประกอบด้วยไอเสียและเขม่า เช่นเดียวกันกับของรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน มีส่วนประกอบแตกต่างกันเล็กน้อย
ไอเสียของรถดีเซลประกอบด้วย
- ไอน้ำ (Vapour)
- คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนไดอ๊อกไซด์ (N2O)
- ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocar)
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide)
- พวกอัลดิไฮด์ (Aldehyde)
- ออกซิเจน (Oxygen)
- ไฮโดรเจน (Hydrogen)
- ไนโตรเจน (Nitrogrn)
เขม่าของรถดีเซลประกอบด้วย
- ผงคาร์บอนเป็นจำนวนมาก
- ยางเหนียว ซึ่งประกอบด้วย โปลี่ซายคลิก อโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons)
อันตรายจากก๊าซพิษที่ออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์
มีหลายคนสงสัยว่า คนได้สูดหายใจเอาก๊าซพิษ ไอเสีย ควันดำ ฝุ่น ละอองของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ฯ เข้าไปทุกวันก็ไม่เห็นมีใครเป็นอันตราย ยังประกอบธุรกิจการงานได้อย่างปรกติสุข ไม่เห็นมีคนล้มดาวดิ้นสิ้นชีพ เพราะก๊าซพิษเลย ดังนั้นสมควรที่จะได้มีการศึกษาเกี่ยวกับก๊าซพิษ แต่ละชนิดแล้วลงความเห็นกันต่อไป
1. ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide)
เกิด จากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ที่ไม่สมบรูณ์และรถยนต์ปล่อย ก๊าซนี้ออกมาทางท่อไอเสีย ก๊าซนี้จะลอยปะปนอยู่ในอากาศมีจำนวนมาก เมื่อมีการจราจรคับคั่งเมื่อสูดหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในร่างกายแล้ว จะไปแย่งออกซิเจนโดยไปรวมกับเฮโมโกลบิน (Haemogobin) ซึ่งเรียกย่อว่า Hb เป็นสารหนึ่งที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บอกซีเฮโมลโกลบิน (Carboxy haemoglobin) ปกติร่างกายของคนเราต้องการอ๊อกซิเจนจะไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินกลายเป็นอ๊อกซี โมโกลบิน (Oxyhaemoglobin) เขียนย่อ ๆ ว่า HbO2 ในเลือดที่มี HbO2 นี้จะถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายในแหล่งที่มี HbO2 ในเนื้อเยื่อจะได้รับอ๊อกซิเจน
แต่ถ้าหายใจเอาซีโอเข้าไป ซีโอจะเข้าไปรวมตัวกับเฮโมโกลบิน ได้เร็วกว่าอ๊อกซิเจน 4 เท่าตัว ถ้าปริมาณของก๊าซซีโอน้อย ก็จะทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลย์กับโลหิต และเมื่อหายใจออกก็จะขับก๊าซนี้ออกไป ปกติก๊าซนี้มีอยู่ในอากาศ 25 ส่วน ในอากาศล้านส่วน ถ้าหายใจเข้าไปจะมีก๊าซนี้อยู่ในกระแสโลหิต กลายเป็นคาร์บอกซี เฮโมโกลบิน อยู่เพียง 4% แต่ถ้าร่างกายมีไม่ถึง 4% ก็จะพยายามดูดเอาก๊าซนี้เข้าไปให้มีถึง 4% ตัวอย่างเช่น นักสูบบุหรี่ร่างกายจะมีก๊าซนี้อย่างน้อย 4% หรือมากกว่านั้นเพราะในการสูบบุหรี่ก็จะอัดควันบุหรี่เข้าไป จึงทำให้ได้รับก๊าซนี้มากกว่าคนธรรมดา เมื่อร่างกายมีก๊าซนี้ 4% แล้วขับออกเพื่อให้เข้าสู่ภาวะสมดุลย์ที่ระดับ 4% (ถ้าไม่สูบต่อ) คนไม่เคยสูบจะมีซีโอมากแล้วจะทำให้อึดอัดเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย โลหิตเปลี่ยนรูปแข็งตัวขึ้น ไหลไม่ได้ เซลล์ก็ขาดอ๊อกซิเจน จึงทำให้วิงเวียน อ่อนเพลีย เพราะสมองได้รับออกซิเจนน้อยนั่นเอง ดังนั้นจึงห้ามไม่ให้สูบบุหรี่บนรถเมล์ ในโรงภาพยนต์ จากการสำรวจพบว่า เมื่อเครื่องยนต์เผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไป 1 แกลลอน จะมีซีโอประมาณ 3 ปอนด์ หลุดออกมา
ขนาดและอัตราการเกิดพิษ
ก. ความเข้มข้นของอากาศภายนอก
1. ความเข้มข้นของอากาศภายนอกที่มีก๊าซนี้อยู่เสมอ 100 ส่วนในล้าน จะไม่ให้เกิดอาการใด ๆ ระหว่างที่ได้รับนานถึง 8 ชั่วโมง
2. ความเข้มข้นที่ได้รับ 500 ส่วนในล้านส่วน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทำงานเบา ๆ ไม่มีอาการใด ๆ แต่บางคนมีอาการมึนศีรษะเล็กน้อยหรือหายใจขัดได้
3. ความเข้มข้นขนาดเกิน 1,000 ส่วน ในล้านส่วนทำให้ผู้รับสิ้นสติ ระบบหายใจวาย ถ้าได้รับเกินกว่า 1 ชั่วโมงจะทำให้ถึงแก่ความตาย
ข. ความเข้มข้นของก๊าซนี้ในร่างกาย (Carboxyhaemoglobin)
1. ถ้าในกระแสโลหิตมีคาร์บ๊อกซีเฮโมโกลบิน 20 - 30% จะทำให้เกิดอาการไม่สบาย หายใจไม่สะดวก มีอาการปวดศีรษะ
2. ถ้ามีคาร์บ๊อกซีเฮโมโกลบิน 30 - 50% จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง จิตใจสับสน วิงเวียนศีรษะ การมองเห็นและการได้ยินเสื่อมลง คลื่นไส้ หงุดหงิด เจ็บหน้าอกและเป็นลม
3. ถ้ามีคาร์บ๊อกซีเฮโมโกลบิน 50 - 60% หรือประมาณ 375 ส่วนในล้าน อาจทำให้หมดความรู้สึกและอาจถึงตายได้ ถ้าได้รับเป็นเวลานาน ๆ
4. ถ้ามีคาร์บ๊อกซีเฮโมโโกลบิน 80% หรือประมาณ 500 ส่วนในล้าน อาจทำให้ตายได้ในทันทีทันใด
รถยนต์ช่วงใดที่ปล่อยก๊าซนี้มากที่สุด มีดังนี้
1. รถยนต์เครื่องดีเซลล์ ช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุด คือรถประจำทาง รถบรรทุก ที่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป
2. รถยนต์เครื่องเบนซินช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุดคือ รถที่อยู่ระหว่างเบาเครื่องจอดติดเครื่องขณะรถติด
3. รถยนต์ใช้น้ำมันผสมช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุด คือ สามล้อเครื่อง ขณะบรรทุกหนักและจอดรอสัญญาณไฟ
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ทำให้สุขภาพของกรุงเทพเสื่อมทรุดลงเพราะจุดที่เกิน มาตรฐานมีมากแห่ง เมื่อสูดเข้าไปทุกวัน ๆ ย่อมทำให้เกิดพิษภัย คือรู้สึกปวดศีรษะ จิตใจไม่สบาย อ่อนเพลีย มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย ดูคนในกรุงเทพขณะนี้เป็นคนมีสุขภาพบกพร่องเป็นคนยิ้มยากไปเสียแล้ว แม้ว่าก๊าซนี้จะไม่ทำให้คนดับดิ้นขาดใจตายในทันทีทันใดก็ตาม แต่นับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น และนับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น และนับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น เพราะรถยนต์เพิ่มขึ้น เพราะรถยนต์เพิ่มขึ้น การถ่ายเทอากาศไม่ดี มีตึกรามบ้านช่องมากขึ้น ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มอันตรายหากไม่ได้รับวางแผนแก้ไขเสียแต่เนิ่น ๆ
2. สารประกอบของตะกั่ว (Tetraethyl Lead)
มี สูตรเคมีคือ Pb(C2H5)4 โดยผู้ผลิตน้ำมันได้เติมสารประกอบของตะกั่วที่มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า เตตร้าเอทิลเลต (Tetraethyl Lead) ซึ่งเป็นของเหลวใส่ลงไปในน้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่อง (ที่ใช้กับเครื่องยนต์) เพื่อให้มีออกเทนสูง (Octane bumber) สูง วิ่งเร็ว ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ เกิดการชักกระตุก (Antiknock Additive Substance) แต่เนื่องจากการเผาไหม้ในคอมบิวเรเตอร์ของเครื่องยนต์ ไม่สมบรูณ์จะมีสารประกอบของตะกั่วหลุดออกมา พวกตะกั่วเหล่านี้จะทำให้อากาศสกปรก โดยแผ่กระจายไปในอากาศทั่วบริเวณนั้น ๆ ยิ่งจำนวนรถยนต์ของกรุงเทพมหานครหรือเมืองใหญ่ ๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สารประกอบของตะกั่วก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงานตามตัวเช่นกัน ตามสถิติในน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วละลายอยู่ 0.7 กรัมต่อลิตร หลังจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์แล้วตะกั่วประมาณ 0.4 กรัมต่อลิตร จะถูกปล่อยออกมายังสิ่งแวดล้อมทางท่อไอเสียรถยนต์ในปี 2520 ประเทศไทยยังใช้น้ำมันเบนซินประมาณ 1,600 ล้านลิตรต่อปึ หรือ 60% ของจำนวนนี้ เป็นส่วนที่ใช้ในกรุงเทพมหานคร
ฉะนั้น จะมีสารตะกั่วประมาณ 38,400 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 105.2 กิโลกรัมต่อวัน หลุดออกมาสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับสถิติปี 2522 มีการใช้น้ำมันเพิ่มเป็น 13,600 ล้านลิตรต่อปี จะมีตะกั่วหลุดออกมามากมายเท่าใด และตะกั่วเหล่านี้ บางส่วนจะถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมในกรุงเทพ และบางส่วนจะเจือปนเข้าไปในร่างกายของคนในเมืองหลวงโดยทางลมหายใจ ส่วนที่ไม่ได้เข้าไปสู่ร่างกายของคนก็จะตกลงทับถมบนถนน หนทางและบริเวณต่าง ๆ ฝนก็จะชะเอาตะกั่วส่วนนี้ลงสู่แม่น้ำลำคลอง และเจือปน ซึ่งมีผลต่อระบบสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง
อันตรายของตะกั่ว ที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แม่น้ำลำคลอง ไหลลงทะเล สัตว์น้ำ เช่นปู ปลา กุ้ง หอย ก็รับเอาสารตะกั่วเข้าไปสะสมในร่างกาย เมื่อคนกินสัตว์น้ำพวกนี้เข้าไปก็ได้รับอันตรายจากพิษของตะกั่วเข้าไปด้วย โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่มีตะกั่วสะสมอยู่มาก คือ ปลา และหอยนางรม ที่คนเราชอบรับประทานนั่นเอง
พิษของตะกั่วที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์โดยทางการหายใจ
พิษของสารตะกั่วที่มีต่อสุขภาพที่เห็นได้ชัดเจนมาก คือ นอนไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์ไม่แจ่มใส เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ท้องผูก อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหงือกซีด โลหิตจาง ไตพิการ ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้ปวดศีรษะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตจนถึงตายได้ นอกจากนี้ตะกั่วยังไปสะสมได้ในกระดูก ทั้งนี้เพราะตะกั่วมีลักษณะคล้ายแคลเซี่ยมและสามารถสะสมในเนื้อเยื่ออ่อนโดย เฉพาะในสมอง ไต และอวัยวะอื่น ๆ ได้ด้วย
ปกติ ระดับของตะกั่วในเลือด จะต่ำกว่า 0.08 มิลลิกรัม / 100 ีซ.ซี. ถ้าเกินระดับนี้ถือว่าเป็นอันตราย จากการศึกษาระดับตะกั่วในเลือดของเด็กจำนวน 69 คน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ถมด้วยกากแบตเตอรี่ในเขตตำบลบางครุ 0.15 - 5.40 ส่วน ในล้านส่วน ค่าเฉลี่ย 1.28 ส่วนในล้านส่วน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.20 ส่วนในล้านส่วน เด็กที่มีตะกั่วในเลือดต่ำกว่า 0.5 ส่วนในล้านส่วน มีอยู่ร้อยละ 29 ของจำนวนเด็กทั้งหมดโดยทั่วไปแล้ว เราอาจจะพิจารณาได้ว่าระดับของตะกั่วในเลือดขนาดตั้งแต่ 1.5 ส่วนในล้านส่วน อยู่ในขั้นพื้นฐานแลทางการแพทย์อาจพบอาการที่เกิดจากพิษตะกั่วได้
3. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide , SO2)
เป็น ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ทำให้ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก ลำคออักเสบ ระคายเคือง ทั้งนี้เนื่องมาจากในน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์มีกำมะถันปนอยุ่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีกาซกำมะถันปนอยู่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีก๊าซกำมะถันหลุดออกมาทางท่อไอเสียรถ ยนตื ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันต้องกำจัดกำมะถันในน้ำมันดิบออกให้ได้มากที่สุดเท่า ที่จะมากได้ ก๊าซนี้มีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เพราะเป็นตัวนำที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ทำให้สัตว์เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในอัตราสูง ถ้าสูดเข้าไปเสมอ ๆ ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถ้ามากทำให้ลิ้นไก่สั้นเกิดการเกร็งหดปิดทางเดินหายใจตายทันที สำคัญที่สุดเป็นอันตรายต่อปอดในรายที่คนไข้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ อยู่แล้ว จะมีอาการเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขนาด 0.25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ขนาดได้กลิ่นฉุน) บางตำราบอกว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหอบหืด ก๊าซนี้กำหนดไว้เพียง
ที่มา : รวบรวมจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.วิจิตร บุณยะโหตระ ,ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
