พลังงานทดแทนจากขยะภายในบ้าน
โพสเมื่อ : 4 ก.ย. 55

พลังงานทดแทนจากขยะภายในบ้าน

      ทุกวันนี้สังคมไทยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งอุปโภคบริโภค และด้านอื่นๆ จนก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยที่มีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การซื้อของใช้ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ ทำให้เกิดขยะมูลฝอย ประเภทขยะแห้ง อย่างใบเสร็จรับเงิน หรือการกินนอกบ้านทำให้เกิดขยะเปียกจากเศษอาหาร เป็นต้น

EnergyfromWaste1

         รูปภาพประกอบ ประเภทที่มาของประเภท และแหล่งที่มาของขยะ (ที่มา : www.thaienergydata.in.th)

มารู้จักพลังงานทดแทน

      พลังงาน ทดแทนหมายถึงพลังงานที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติและสามารถมีทดแทนได้อย่างไม่ จำกัด (เมื่อเทียบกับพลังงานหลักในปัจจุบัน เช่น น้ำมันหรือถ่านหิน) พลังงานทดแทนที่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายได้แก่


               1 พลังงานแสงอาทิตย์           2 พลังงานลม           3 พลังงานความร้อนใต้พิภพ         4 พลังงานชีวมวล

               5 พลังงานน้ำ                 6 พลังงานจากขยะ        7 โรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะ


      ประเทศ ไทยได้นำพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในขณะนี้มาใช้ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานจากขยะ และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

พลังงานจากขยะคืออะไร

      พลังงาน ที่ได้จากขยะของบ้านเรือนหรือกิจการต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ เป็นต้น สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้

EnergyfromWaste2

     รูปภาพประกอบ การนำขยะมาใช้ใหม่ของประเทศไทย (ที่มา : www.thaienergydata.in.th) 

     ใน ประเทศไทยมี บริษัท โรงไฟฟ้าแม่สอด จำกัด ที่เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง โดยนำขยะมาเผาบนตะแกรง เพื่อให้ได้ความร้อนที่เกิดขึ้นใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปเพิ่มแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


“ พลังงานขยะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาด เทคโนโลยีที่เหมาะสม ”

เทคโนโลยีพลังงานขยะ

      ในปัจจุบัน นี้มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยนำขยะมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ทั้งเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดมากขึ้นในทุกวัน พลังงานทดแทนจากขยะ ที่ได้ออกมาจะอยู่ในรูปของความร้อน ไฟฟ้า เชื้อเพลิง เป็นหลักขยะสามารถนำมาผลิตพลังงานได้ เช่น ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill gas) การผลิตความร้อนและกระแสไฟฟ้าจากการเผา (Incineration) ก๊าซชีวภาพจากการหมัก (Anaerobic Fermentation) เชื้อเพลิงขยะอัดก้อน (Refuse-Derived Fuel, RDF) และกระบวนการ Gasification & Ash Melting ซึ่ง เทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะในรายงานที่จัดทำขึ้นนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้


              1.เทคโนโลยี ผลิตพลังงานจากขยะโดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (Bio-chemical Conversion ) ได้แก่ เทคโนโลยีย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน การผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ 
(Landfill Gas to Energy)

              2.เทคโนโลยี ผลิตพลังงานจากขยะโดยกระบวนการทางเคมีความร้อน (Thermo-chemical Conversion) ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ (MSW Gasification) การแปรรูปขยะมูลฝอยไปเป็นพลังงานความร้อนโดยใช้เตาเผา (Incineration) ขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง

        
       ซึ่ง แต่ละเทคโนโลยีก็สามารถแปรรูปพลังงานออกมาต่างกัน ซึ่งหากสรุปพลังงานที่ได้ออกมาโดยรวมแล้วจะได้ พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า และพลังงานในรูปเชื้อเพลิง ดังนั้นการแยกขยะจากชุมชน บ้านเรือน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ประเทศไทยลดขยะที่มีอยู่ได้อย่างมาก และช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย 

“ หากทุกคนช่วยคัดแยกขยะภายในบ้านของตนเอง จะทำให้ได้พลังงานทดแทนที่มากขึ้นมากตามไปด้วย ”

 

อ้างอิง

http://www.thaienergydata.in.th 
http://th.wikipedia.org/wiki/พลังงานทดแทน
http://www.dede.go.th