แผ่นดินไหวภัยใกล้ตัว
โพสเมื่อ : 23 เม.ย. 55

       ภัยพิบัติ ธรรมชาติที่นับว่ามีความรุนแรงมากที่สุด พยากรณ์ได้ยากที่สุด แม้จะลดภัยพิบัติได้บ้างแต่ก็ไม่มีทางป้องกันได้ในปัจจุบันก็คือ “แผ่นดินไหว” ความจริงปรากฏการณ์ “แผ่นดินไหว” มี 2 แบบ คือแบบธรรมชาติ เช่น การไหวตัวของเปลือกโลก และจากแรงสะเทือนจากภูเขาไฟระเบิด และแบบไม่ธรรมชาติ คือ มนุษย์ทำขึ้น เช่น ระเบิดปรมาณู การกักน้ำในเขื่อน รถบรรทุกหนักกำลังวิ่ง การระเบิดจากเหมือง เป็นต้น ในปัจจุบันทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่าแผ่นดินไหว หมายถึง ปรากฏการณ์การไหวสะเทือนอย่างรุนแรงของพื้นผิวโลก ซึ่งเกิดจากการที่เปลือกโลกปรับตัวให้เข้าสู่สมดุลย์โดยการปลดปล่อยพลังงาน ที่สะสมไว้ให้ออกมาอย่างรวดเร็วในรูปคลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) หรือคลื่นไหวสะเทือนได้

      ประเทศไทยเป็น ประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้เคยประสพแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ในอดีตจนปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศไทยไม่ใช่ศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว ของภูมิภาคแถบนี้ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางเครื่องบันทึกแผ่นดินไหว (seismograph) อันเป็นหลักฐานขั้นพื้นฐาน ทำให้ทราบว่าได้เคยเกิดมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และเล็กหลายครั้งแล้วในประเทศ ไทย ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดความจำเป็นในการศึกษาข้อมูลธรณีวิทยาเกี่ยวกับแผ่นดิน ไหวขึ้น ซึ่งเป็นที่เข้าใจและแพร่หลายน้อยมากโดยเฉพาะในประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของแผ่นดินไหวจึงก่อให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับ การกำเนิดและตระหนักถึงภัยจากแผ่นดินไหวของประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนโครงสร้าง วิศวกรรมขนาดใหญ่ และการใช้ประโยชน์ที่ดินการวางผังเมือง และสภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

 
        ผลการศึกษาด้าน ประวัติศาสตร์จากศิลาจารึก ตำนานใบลาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร หนังสือพิมพ์ และบันทึกจากประเทศข้างเคียง ตลอดจนหลักฐานทางโบราณคดี เช่น สภาพเมืองโบราณและซากหักพังของเจดีย์ ทำให้ทราบว่าในอดีตที่ผ่านมาได้เคยเกิดมีแผ่นดินไหวในประเทศไทย และบริเวณข้างเคียงหลายครั้ง และจากการศึกษาพบว่าทางตอนเหนือของประเทศก็เคยมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้น โดยเฉพาะแถบเมืองเชียงแสน ซึ่งทำให้เมืองทั้งเมืองเกิดการถล่มล่มสลาย (นับเป็นธรณีสูบครั้งสำคัญยิ่ง) ข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดในการศึกษาแผ่นดินไหวบริเวณดังกล่าวอย่าง ละเอียดเพื่อให้ทราบ ถึงประวัติความเป็นมาข้อมูลจากประวัติศาสตร์ทำให้ได้ทราบว่าได้เคยเกิดมี แผ่นดินไหวใหญ่ชอบเกิดขึ้นในประเทศไทย และบางครั้งก็มีความรุนแรงมากจนทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายในอดีตที่ ผ่านมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้ไม่เคยมีการระบุถึงแผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลย อย่างไรก็ตามขีดจำกัดของข้อมูลในประวัติศาสตร์ก็คือไม่สามารถบอกตำแหน่งที่ แน่ชัดของการเกิดแผ่นดินไหวว่า เกิดตรงที่จุดใดแน่ และไม่ทราบว่าจุดที่เกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแถบนั้น หรือมาจากที่อื่นแต่ส่งผลกระทบและก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นถึงบริเวณนั้น หรือไม่
 
 
ภัยจากแผ่นดินไหว อันตรายที่เกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นดินไหวก่อให้เกิดภาวะ 6 ประการที่สำคัญคือ
 
1. แผ่นดินสะเทือน พื้นดินสั่นไหวเป็นระลอกคลื่น การสั่นไหวทำให้ตึก สะพานและถนนพังพินาศไปชั่วพริบตา

2. แผ่นดินเลื่อน ทำให้ถนน ทางรถไฟ แนวสายไฟฟ้า ท่อแก๊ส-ท่อน้ำ-ประปา เกิดการฉีกขาด ตามแนวการเลื่อนตัว

3. ไฟไหม้ ผลพวงที่ตามมาจาก 2 ข้อแรก ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องที่บางครั้งสร้างความเสียหายได้มากกว่า เช่น แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโก (พ.ศ. 2449) และที่โตเกียวและโยโกฮามา (พ.ศ.2466) ที่ประเมินกันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกว่าร้อยละ 90 มาจากไฟไหม้

4. แผ่นดินถล่ม มักเกิดในบริเวณที่มีความลาดชันมาก ผลที่ตามมาก็คือ พื้นดินหรือแผ่นหินเลื่อนมาตามความลาดชันสู่พื้นราบ เมืองหลายเมือง เช่น ในอลัสก้า คาลิฟอร์เนีย จีน อิหร่าน ตุรกี พังพินาศเพราะผลจากแผ่นดินไหวนี้

5. ธรณีสูบ( Liquefaction) น้ำในดินบางครั้งแทรกอยู่ในรูพรุนของเม็ดตะกอนจนแถบไม่มีช่องอากาศอยู่เลย พอเกิดแผ่นดินไหว แรงบีดอัดทำให้ตะกอนพวกนี้ไหลพุ่งขึ้นตามมากับน้ำที่อิ่มตัวนี้ บ้างก็ถูกฉุดลงไปในพื้นดิน แผ่นดินไหวที่เมืองแองคอแรด อะลาสก้า (พ.ศ. 2507) หรือที่นิอิกาตะในญี่ปุ่นในปีเดียวกัน บ้านเรือนหลายหลังถูกธรณีสูบทั้งที่เป็นหย่อม ๆ และเป็นแนว

6. คลื่นยักษ์ หรือสึนามิ (Tsunami) การเลื่อนหรือเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรทำให้คลื่นไหวสะเทือนส่ง ผ่านให้กับน้ำทะเล และผลน้ำทะเลเกิดเป็นระรอกคลื่นที่ผิว และเคลื่อนตัวเข้าหาฝั่งด้วยความเร็วอย่างน้อย 300 ถึง 400 กม ต่อชั่วโมง แผ่นดินไหวใกล้เกาะ คูนิแมค อะลาสก้า ปี พ.ศ. 2489 ใช้เวลาเดินทางสี่ชั่วโมงครึ่งกว่าจะถึงเกาะฮาวาย ด้วยความเร็วคลื่นประมาณ 800 กม/ชม จากจุดเกิด ตอนแรกแทบมองไม่เห็นคลื่น แต่เมื่อถึงฮาวายคลื่นสูงถึง 18 เมตร กวาดบ้านเรือน 500 หลังในชั่วพริบตา อีกกว่าพันหลังเสียหายและคร่าชีวิตมนุษย์ไป 159 คน


ภาย หลังแผ่นดินไหวขนาด 7.2 ริกเตอร์ ของวันที่ 17 มกราคม 2538 ที่เมืองโกเบ ญี่ปุ่น ทำให้ท่อแก็สฉีกขาด ก่อให้เกิดไฟไหม้มีประชาชนเสียชีวิตมากมาย แผ่น ดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดตามพื้นที่ภูเขาสูง มักก่อให้เกิดดินถล่ม ตามมาเสมอ ไหลลงมาทับบ้านเรือนที่ตั้งอยู่เชิงเขา ดังเหตุการณ์เดือนมีนาคม ค.ศ.1995 ที่ประเทศ Ventura
   

                    
แผ่นดินไหววันที่ 20 กันยายน 2542 ขนาด 7.6 ริกเตอร์ ที่ไต้หวัน ทำให้บ้านเรือนพังเสียหายมากมาย แผ่น ดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดตามพื้นที่ภูเขาสูง มักก่อให้เกิดดินถล่ม ตามมาเสมอ ไหลลงมาทับบ้านเรือนที่ตั้งอยู่เชิงเขา ดังเหตุการณ์เดือนมีนาคม ค.ศ.1995 ที่ประเทศ Ventura
   
พื้นที่ ที่รองรับด้วยชั้นดินทรายที่อิ่มตัวด้วยน้ำ จะเปลี่ยนสภาพเสมือนของเหลว (Liquefaction) เมื่อมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ทำให้อาคารทรุดจมลงในดิน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ค.ศ.1964 ที่ญี่ปุ่น 26 ธันวาคม 2547 แผ่นดินไหวในทะเลขนาด 9.3 ริกเตอร์ บริเวณนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ก่อให้เกิดสึนามิเดินทางมาถึงเกาะภูเก็ต ประเทศไทย ใช้เวลา 90 นาที

 

                                                                                                                          ที่มา กรมทรัพยากรธรณี