การเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม
โพสเมื่อ : 7 ต.ค. 54
การเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม
การป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหาก รอให้มีการเตือนภัย เวลามักจะไม่เพียงพอ

การเตรียมความพร้อมก่อนน้ำท่วม

         รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ

สอบถามหน่วยงานที่จัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามต่อไปนี้

        -  ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปีที่ผ่านๆมา เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไหร่

        -  เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่

        -  เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่

        -  เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร

        -  ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไปควรปฏิบัติดังนี้                               

        1.  คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม

        2.  ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ

        3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย

        4. เตรียมเครื่องรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน แหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง

        5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และทราบแหล่งทรายที่จะนำมาใช้

        6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง

        7.  ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการประกันความเสียหาย

        8.  บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย

        9.  รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

        10.  ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน       11.  เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์

        12.  ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้ในที่สังเกตได้ง่าย  และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ


ถ้าคุณคือพ่อแม่ :

·        ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ  หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ

·        ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น

·        ต้องทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานคุณเรียนอยู่

·        เตรียมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ

·        จัดเตรียมกระสอบทราย  เพื่อกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน

·        ต้องมั่นใจว่าเด็กๆได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน

 

การทำแผนรับมือน้ำท่วม

 

        การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัย เดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคู่มือเล่มนี้ พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการตามคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คน เร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย

  

ถ้าคุณมีเวลาเพียงเล็กน้อยหลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน

        -  สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์และรายชื่อสถานีวิทยุที่รายงาน

        -  รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลง โดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณ

           บ้าน และอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง            

        -  เมื่ออพยพออกจากบ้าน   ในกรณีที่คุณไม่สามารถกลับเข้าบ้านได้หลายวันควรติด  ข้อความอธิบายที่บ้านด้วยว่า

            คุณอพยพไปที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไร

        -  เมื่อจะออกจากบ้านให้ปิดบ้านให้เรียบร้อย และวิ่งออกไปตามเส้นทางที่วางแผนไว้สู่ที่อพยพ

 

ถ้าคุณมีเวลามาก หลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องเพิ่มลงไปในแผนคือ

        -  ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เตรียมไว้สำหรับการป้องกันน้ำท่วม

        -  อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้

        -  ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สและประปาในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม หรือถ้าคาดว่าน้ำจะท่วมเฉพาะชั้นล่างก็สามารถปิด

            อุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะส่วนนั้นและเปิดใช้ในส่วนที่อยู่อาศัยได้ ในแผนรับมือน้ำท่วม ให้ทำเครื่องหมายจุดที่เป็น

            ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ เพื่อแสดงวงจรไฟฟ้าที่เข้าสู่ตัวบ้าน

        -  ปิดถังแก๊สให้สนิท

-  จัดเตรียมน้ำสะอาดใส่ในภาชนะเพื่ออุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ

         -  ตรวจสอบแหล่งพลังงานที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำ

        -  เคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าไปเก็บไว้ที่สูงหรือปลอดภัย

น้ำสามารถไหลเข้าบ้านคุณได้อย่างไร

        น้ำท่วมสามารถไหลเข้าบ้านได้หลายทาง โดยทางเข้าจะสูงกว่าระดับพื้นบ้านดังนั้นหลังจากระดับน้ำท่วมลดลง น้ำจึงยังคงอยู่ในตัวบ้าน เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหาย

น้ำเข้าบ้านได้หลายทาง ดังนี้

- น้ำสามารถผ่านเข้ารอบๆประตู และช่องว่างของอิฐได้

- หากน้ำท่วมสูงมาก น้ำจะสามารถไหลย้อนกลับเข้าบ้าน  

  ทางท่อในห้องน้ำหรือท่ออ่างล้างหน้าได้

- น้ำสามารถซึมผ่านรอยร้าวและรอยต่อของกำแพง

- น้ำสามารถซึมผ่านขึ้นมาทางพื้นชั้นล่างได้

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางรอยร้าวและรอยต่อรอบๆสายไฟ

  หรือ สายโทรศัพท์ที่เจาะผ่านกำแพง  

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางท่อระบายน้ำทิ้ง

ระหว่างเกิดน้ำท่วม

พายุและน้ำท่วมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ควรมีการตื่นตัวเมื่อเกิดพายุฝนตกหนักหรือหากไม่แน่ใจ ควรเปิดวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อฟังพยากรณ์อากาศและติดตามสถานการณ์           น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งจะมีหน่วยงานสำหรับเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนมีเวลารับสถานการณ์ ซึ่งประชาชนทุกคนควรให้ความร่วมมือและช่วยเป็นหูเป็นตา หากสัญญาณที่อาจจะเกิดน้ำท่วมได้ให้ทำการแจ้งหน่วยงานในท้องถิ่น

 

ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม

        ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

1.  การเฝ้าระวังน้ำท่วม  ( Flood Watch) :    มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตการณ์

2.  การเตือนภัยน้ำท่วม (Flood Warning) :   เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม

3.  การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง (Severe Flood Warning) :   เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง

4.  การกลับสู่ภาวะปกติ (All Clear) :  เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

 

สิ่งที่คุณควรทำ  :  หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

        1.  ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถฉุกเฉิน

        2.  ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้

                -  ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

                -  อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

                -  อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณทางน้ำหลาก


        3.  ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว

        4.  ถ้ามีการเตือนการเฝ้าระวังน้ำท่วม  จะยังพอมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม

        5.  ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้

                -  อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

                -  อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อยู่นอกบ้าน

               -  ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น

                -  ล๊อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

                -  ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจาก วิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับ สถานที่หลบภัยของหน่วยงาน

        6.  หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

                -   ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน

                -  ปิดแก๊สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก๊ส

                -  เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน

                -  ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน

 

               น้ำท่วมฉับพลัน

 -  น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิด ขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนภัย

-  ควรทราบว่าถ้าเกิดน้ำท่วมฉับพลันจะทำอย่างไร ทั้งตอนอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน และในรถ

-  เมื่อเกิดฝนตกหนักและคุณอยู่ใกล้ลำน้ำ ควรติดตามข่าวทางสถานีวิทยุท้องถิ่นหรือโทรทัศน์ ถ้าได้รับการ

   เตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้ระมัด ระวังตัวและย้ายไปอยู่ที่สูง

-  ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที

-  ออกจากรถและที่ที่อยู่ คิดอย่างเดียว ว่าต้องหนี

-  อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม

 

ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

  

 -   ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล : มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำตายในขณะที่

     น้ำกำลังมา ความสูงของน้ำเพียงแค่ 15 เซนติเมตรก็ทำให้เสียหลักล้มได้  ดังนั้นถ้ามี

      ความจำเป็นต้องเดินผ่านทางที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับก่อนทุกครั้ง

 

  -  ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดยน้ำท่วม : การขับรถในพื้นที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมาก

     ที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไป เพราะอาจมี

     อันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 เซนติเมตรพัดรถจักรยานยนต์ให้ลอยได้

 

 -  ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย : กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านน้ำได้ เมื่อเกิดน้ำ

    ท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากไฟดูดมากว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรือ

    อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


 


ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่ในบ้าน

  

 -  ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านโดนน้ำท่วม :  อุปกรณ์บางอย่างสามารถทำให้คุณช็อกได้

     แม้ในขณะที่ไม่เสียบปลั๊ก ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ จนกว่าแน่ใจว่าทุกชิ้นส่วน

     ของอุปกรณ์นั้น สะอาดและแห้งสนิท

  -  ระวังสัตว์อันตราย :  สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ ที่อาจหนีน้ำเข้ามาในบ้าน

  -  เดินอย่างระมัดระวัง :  ระวังอันตรายจาก โคลนที่ทำให้ลื่น เศษแก้ว เข็ม ซากสิ่งของที่

     พังลอยมากับน้ำตอนที่น้ำลดแล้ว

  -  ระวังแก๊สรั่ว : หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ ลองใช้ไฟฉายส่องดูเพื่อเช็คความ

     เสียหาย และห้ามสูบบุหรี่หรือจุดไฟจนกว่าจะปิดแก๊สหรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว

  -  อันตรายจากคาร์บอนมอนออกไซด์ : ควรใช้ เตาย่าง และโคมไฟ นอกบ้านเพราะควัน

      ที่ออกมาจากสิ่งเหล่านี้อาจมีพิษ และไม่ ควรนำไปใช้ในบ้าน

  -  ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำ : น้ำท่วมเป็นน้ำมีสิ่งปฏิกูลและสารอันตราย เจือปน

     ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสน้ำ อาหาร ส่วนเครื่องใช้ให้ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด

  -  ดูแลตัวเองและครอบครั