การรดูแลรักษาเครื่องยนต์เพื่อลดมลพิษ...เพื่อช่วยโลกของเรา
โพสเมื่อ : 21 ส.ค. 54



ปัจจุบันยานพาหนะประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่นิยมใช้กันในชีวิตประจำวันของเรา และนับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การเพิ่มผิวจราจรไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนรถ ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาอากาศเป็นพิษและเสียงรบกวน สารพิษที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์ ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่การจราจรหนาแน่นต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับสิ่งที่ออกมาจากท่อไอเสีย และวิธีที่จะช่วยลดมลพิษจากรถของท่าน

การทำงานของเครื่องยนต์ หากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดสารพิษปล่อยออกมาจากท่อไอเสียอันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ สารพิษเหล่านี้ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ควันดำไฮโดรคาร์บอนอ๊อกไซด์ของไนโตรเจน สารตะกั่ว ฯลฯ


ควันดำเป็นผงเขม่าขนาดเล็กที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากรถยนต์ดีเซล เช่น รถปิกอัพดีเซล รถเมล์โดยสาร และรถขนาดใหญ่ทั่ว ๆ ไป


    สาเหตุการเกิดควันดำ
  1. ระบบจ่ายน้ำมันไม่เหมาะสม ทำให้สัดส่วนน้ำมันและอากาศไม่เหมาะสม เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
  2. ไส้กรองอากาศสกปรกและอุดตัน
  3. เครื่องยนต์เก่าชำรุดขาดการบำรุงรักษา
  4. บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด

อันตรายจากควันดำ
ควันดำเป็นผลเขม่าเล็กที่สามารถเข้าไปสะสมที่ถุงลมในปอด และควันดำยังประกอบด้วยสารที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในปอด นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสกปรก และบดบังการมองเห็นก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางจราจรได้ง่า

ก๊าซชนิดนี้ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ในเครื่องยนต์รถ เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ รถสามล้อเครื่อง รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ก๊าซนี้จะเกิดขึ้นมากในขณะที่รถยนต์เดินเครื่องอยู่กับที่ เนื่องจากการจราจรติดขัด

    สาเหตุการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
  1. มีการปรับแต่งเครื่องยนต์เกี่ยวกับระบบจ่ายไฟ และจ่ายน้ำมันที่ไม่เหมาะสม
  2. ไส้กรองอากาศอุดตัน
  3. ใช้น้ำมันผิดประเภท เช่น ใช้น้ำมันธรรมดากับเครื่องยนต์ที่กำหนด ให้ใช้น้ำมันเบนซินพิเศษ
  4. บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด
  5. ลักษณะการขับขี่ที่มีการเร่งเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็น
อันตรายจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
เมื่อหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซนี้จะทำปฏิกิริยากับ ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงอ๊อกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ
ถ้ามีก๊าซนี้ในอากาศที่เราหายใจเพียง 60 ส่วนในล้านส่วน จะทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ ในกรณีที่มีก๊าซนี้เกิน 5,000 ส่วนในล้านส่วนของอากาศที่เราหายใจจะทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้

การที่จะป้องกันไม่ให้รถยนต์ของท่านปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ขับขี่รถจะต้องหมั่นบำรุงรักษาสภาพของเครื่องยนต์ มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ รวมถึงลักษณะการขับขี่ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้

  1. ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล
  2. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
  3. หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่นจับมากให้ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
  4. หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ
  5. ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น
  6. ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Converter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษน้อยลงได้

สำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิษ ดังนี้

  1. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวนลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบ
  2. ปรับแรงดันที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนดและหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง ถ้าหัวฉีดปรับแรงดันไม่ได้
  3. หรือฉีดน้ำมันไม่เป็นละออง ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่
  4. ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่าง ๆ ให้จ่ายน้ำมันตามกำหนด ถ้าหากว่าปรับตั้งไม่ได้เนื่องจากลูกปั๊มสึกหรอมาก
  5. ให้เปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่

สำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซินควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้
  1. ปรับคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันอัตโนมัติ
  2. จะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
  3. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์และระบบไฟ จุดระเบิดอาจแก่เกินไป ควรลดลงให้เหมาะสม

  1. สิ้นเปลืองน้ำมันส่วนที่จ่ายแล้วเผาไหม้ไม่หมด
  2. ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ต่ำลง
  3. อายุการใช้งานของเครื่องยนต์สั้นลง

ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดมาตรฐานค่าควันดำและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ยินยอมให้ระบายออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ ได้ดังนี้
ค่าควันดำของรถยนต์ที่เดินด้วยกำลัง เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ต้อง
(1) ไม่เกินร้อยละห้าสิบของเครื่องวัดระบบบอช เมื่อรถยนต์จอดอยู่กับที่หรือเมื่อรถยนต์แล่นอยู่บนทางเดินรถ หรือ
(2) ไม่เกินร้อยละสี่สิบของเครื่องวัดระบบบอช หรือไม่เกินร้อยละห้าสิบของเครื่องวัดระบบฮาร์ทริดจ์ เมื่อรถยนต์อยู่ในเครื่องทดสอบ
ค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ของรถยนต์ที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันเบนซินต้องไม่เกินร้อยละหกของเครื่องวัดระบบนันดีสเปอร์ซีฟ อินฟราเรด ดีเทดชั่น
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535)



ที่มา : รวบรวมจากฝ่ายสุขาภิบาลทั่วไป กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
โทร.2485740-43, โทรสาร. 2459387