แจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย
โพสเมื่อ : 8 ก.ค. 54
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ

วันที่ 7 กรกฎาคม 2554

เรื่อง แจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย

         ตาม ที่ กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของ ประเทศไทย ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ซึ่งมักได้รับผลกระทบจากมลพิษหมอกควันข้ามแดนจากไฟป่าเกาะสุมาตรา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นประจำทุกปี และพบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณของฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ภาคใต้ ตอนล่างของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 โดยจังหวัดสงขลา พบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) สูงสุด 94.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2554
        จากข้อมูลจำนวนจุด ความร้อน (hotspot) ซึ่งแปลผลได้จากดาวเทียม NOAA-18 ในเว็บไซต์ศูนย์เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางแห่งอาเซียน ( ASEAN Specialized Meteorological Center :ASMC) สาธารณรัฐสิงคโปร์พบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวน hotspot ในเกาะสุมาตราและบอร์เนียว สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 และพบจำนวน hotspot สูงสุด จำนวน 274 จุด ในเกาะสุมาตรา ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 เมื่อพิจารณาทิศทางลม พบว่าลมพัดจากบริเวณที่มี hotspot หนาแน่นมายังทิศตะวันตกของประเทศมาเลเซีย และประเทศไทยด้านจังหวัดสตูลสงขลา ยะลา และนราธิวาส ซึ่งจากการประสานไปยังหน่วยงานในพื้นที่พบว่าจังหวัดสงขลาและสตูล มีฟ้าหลัว และมีหมอกควันปกคลุม โดนเฉพาะจังหวัดสตูล ซึ่งหมอกควันดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยเป็นอย่างมาก
        แม้ว่าปริมาณ ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ภาคใต้ที่ตรวจวัดได้ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงควรปฏิบัติตนดังนี้ 1) ใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ ปิดจมูกและปาก ในกรณีที่อยู่บริเวณที่มีหมอกควัน 2) ปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นควันเข้าบ้าน 3) ไม่อยู่บริเวณที่หมอกควันปกคลุม โดนเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กคนชรา ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด 4) ผู้เป็นโรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด เด็ก และคนชรา ควรพักผ่อนอยู่ในบ้านโดยผู้ป่วยโรคดังกล่าวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็น ให้พร้อม 5) เมื่อมีอาการผิดปกติหลังจากสูดดมหมอกควัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที 6) งดเว้นการสูบบุรี่และควรดื่มน้ำบ่อยๆ ในช่วงที่มีฝุ่นควันรบกวน 7) หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและการทำงานที่ต้องออกแรงมากในบริเวณที่มีฝุ่นควัน รบกวน  ติดตามรับฟังข่าวสารและข้อมูลจากทางราชการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง 9) งดการรองรับน้ำฝนไว้ใช้อุปโภคบริโภคชั่วคราว แต่ถ้าหากจำเป็นต้องรองน้ำควรปล่อยให้น้ำฝนตกลงมาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนรองน้ำไว้ใช้
ื      พร้อมกันนี้ กรมควบคุมมลพิษ ใคร่ขอความร่วมมือจากประชาชนในการแจ้งเหตุการเผาในที่โล่งและหมอกควันให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือจังหวัดทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที รวมทั้งขอความร่วมมือในการควบคุม ลด และงดการผาในที่โล่งทุกประเภท เพื่อลดฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ซึ่งทำให้สถานการณ์หมอกควันจากไฟใน สาธารณรัฐอินโดนีเซียที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในขณะนี้มีความรุ่นแรงเพิ่ม มากขึ้น
ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ จะเฝ้าระวังสถานการณ์และรายงานข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ (www.pcd.go.th) เป็นประจำทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ และจะแจ้งข้อมูลให้ทราบเป็นระยะต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2554

นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ