ในปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ในโลกโซเชียลมีเดีย และในแต่ละวันมีข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากมาย และข้อมูลที่เราได้รับก็ได้รับมาจากหลายแหล่งที่แตกต่างกันไป เราในฐานะคนรับข้อมูลข่าวสาร เราต้องเป็นคนคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับว่าเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จ
หากเราไม่คัดกรองให้ดีแล้วเราอาจได้รับผลเสียตามมาในแง่ของการรับข้อมูลเท็จ และทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าข้อมูลเท็จได้ก่อให้เกิดปัญหาในวงกว้างของทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่บิดเบือน ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ หรือแม้กระทั่งมีจุดประสงค์ที่ไม่ดี ข้อมูลเท็จเหล่านี้ ขอเรียกรวมๆว่า fake news ซึ่งได้มีการแบ่งรูปแบบระดับความรุนแรงของ fake news ซึ่งมีรูปแบบไหนบ้างไปดูกัน
ที่มารูปภาพ:http://www.okmd.tv/blogs/all-things-digi
1.เสียดสี/ตลก (Satire or Parody)จะเป็นรูปแบบของเชิงล้อเลียน เชิงตลกขบขัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ซึ่งรูปแบบ Fake news แบบนี้จะมีระดับความรุนแรงที่น้อยที่สุด เพราะเจตนาไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
2. โยงมั่ว (False connection)การโยงมั่วเกิดจากข่าว 2 ข่าว ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่ถูกนำมากล่าวไว้ในเรื่องเดียวกัน เพราะเกิดจากความไม่เข้าใจและไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขียน Content หรือต้องการสร้างรายได้ โดยการอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือแล้วโยงขายของ เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงในรูปแบบนี้ จะยังไม่เป็นการหวังผลชวนเชื่อในระดับสังคมวัฒนธรรม
3. ทำให้เข้าใจผิด (Misleading)เป็นรูปแบบจงใจให้เกิดความเข้าใจผิด หรือการตั้งใจใช้ถ้อยคำเพื่ออธิบายผิด ๆ แต่พอโดนจับได้ก็บอกว่าเข้าใจผิดทั้งที่เมื่อตอนแรกเข้าใจถูกแล้ว ซึ่งรูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์ชวนเชื่อมักใช้กับข่าวการเมือง ซึ่งเริ่มมีระดับความรุนแรง
4. ผิดที่ผิดทาง (False Context)รูปแบบนี้คือการนำสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่ใช้อธิบายในอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวคือ ภาพเหตุการณ์ข่าวอุทกภัยต่างประเทศแต่นำมาพลาดหัวข่าวว่าเป็นของประเทศไทย ซึ่งรูปแบบการเขียนแบบนี้ จุดประสงค์คือต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดในวงกว้าง ซึ่งมีระดับความรุนแรงเกิดขึ้น
5. มโนที่มา (Impostor)รูปแบบนี้คือการอ้างกล่าวไปยังแหล่งข่าวหรือบุคคลเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข่าวนั้น ๆ โดยจุดประสงค์ต้องการสร้างความขัดแย้งกันในวงกว้าง และเราต้องตรวจสอบข้อมูลให้ดี ๆก่อนรับข่าวสาร เพราะข่าวรูปแบบนี้คือความรุนแรงระดับมาก เพราะตั้งใจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
6. ปลอม ตัดต่อ (Manipulated)เป็นการตัด ภาพ เสียง หรือ วิดิโอ สร้างขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง หรือแม้กระทั่งทำโลโก้ของแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือมาใส่ ซึ่งรูปแบบนี้ตั้งใจเป็นอย่างมากที่จะทำให้เข้าใจผิดในวงกว้าง ซึ่งระดับความรุนแรงจะมากกว่า Impostor ผู้รับข้อมูลต้องตรวจสอบข้อมูลให้ดี ๆ
7. มโนทุกอย่างเลย (Fabricated)รูปแบบนี้เรียกได้ว่า ปลอมตั้งแต่เว็บไซต์หรือปลอมเป็นบุคคลแล้วรายงานข่าวเท็จ อันนี้ร้ายแรงมากที่สุดเพราะเป็นการตั้งใจให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงและต้องการให้เกิดผลกระทบในวงกว้างมากที่สุด ซึ่งรูปแบบนี้ถือเป็นรูปแบบที่รุนแรงมากที่สุดในทั้งหมด
เมื่อเราทราบถึงรูปแบบความรุนแรงของ Fake news แล้วเราจะต้องเลือกรับข่าวสารให้ดีก่อนเพื่อไม่ทำให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเหล่านี้ โดยจุดประสงค์ที่แท้จริงของ Fake news ต้องการให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจผิดและเกิดความแตกแยก สังเกตได้จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแต่ละรูปแบบ อย่างไรก็ตาม Fake news จะทำอะไรพวกเราไม่ได้หากเรามีสติในการรับข้อมูลข่าวสาร