
หน้าร้อนกับการประหยัดพลังงาน
สิ่งที่มาพร้อมกับหน้าร้อน นอกจากอารมณ์จะหงุดหงิดง่ายแล้ว ยังมีบิลค่าไฟที่พอเห็นแล้วเล่นเอาเหงื่อตกเลยทีเดียว บางคนก็อาจจะบ่นโดยคิดค่าไฟในอัตรามหาโหดหรือคิดค่าไฟผิดเปล่า เป็นต้น แต่ลืมนึกไปว่าพฤติกรรมการใช้พลังงานในหน้าร้อนของแต่ละบ้านที่เป็นอยู่นั้น เป็นไปแบบไม่บันยะบันยังหรือเปล่า ยิ่งตอนนี้ถ้าถามกันในหน้าร้อนอย่างนี้ว่าจะแก้ร้อนได้อย่างไร
วิธีประหยัดค่าไฟในหน้าร้อนทำได้ไม่ยาก นอกจากรู้จักใช้เครื่องปรับอากาศอย่างประหยัดแล้ว ยังมีวิธีที่ช่วยให้บ้านเย็นสบายได้อีกหลายวิธี ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์อากาศร้อนแต่เนิ่นๆจดหมายข่าวอนุรักษ์ พลังงานฉบับนี้จึงขอแนะนำวิธีการประหยัดพลังงานสำหรับบ้านในช่วงหน้าร้อนนี้ เริ่มจาก
1. หันบ้านให้ถูกทาง (วิธีเหมาะสำหรับท่านที่กำลังจะปรับปรุงใหม่ หรือสร้างบ้านใหม่) อย่างที่ทราบกันว่าสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้านมีส่วนช่วยทำให้บ้านเย็นสบาย เช่น มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีแหลงน้ำที่ให้ความเย็นไม่มีอาคารกีดขวางทางลม เป็นต้น การวางตำแหน่งของบ้านที่ดีจะทำให้ภายในบ้านได้รับประโยชน์จากธรรมชาติจึงถือ เป็นการเริ่มต้นที่ช่วยให้การใช้พลังงานในบ้านน้อยลง การวางตำแหน่งบ้านจึงแนะนำให้ใช้หลักง่ายๆ คือ เปิดรับแสงเหนือ และ กันแดดด้านตะวันตกและใต้ เท่านี้ก็พอจะสู้รบกับความร้อนได้อย่างดี
2. กางร่มในบ้าน หลายๆ บ้านไม่สามารถหันบ้านหลบแดดได้ เนื่องจากปลูกสร้างมานาน ก็อาจใช้แนวคิดการ การร่มให้บ้านเพื่อให้ตัวบ้าน เช่น ผนัง หลังคา หรือช่องหน้าต่างถูกแสงแดดน้อยที่สุด จะทำให้ความร้อนถ่ายเทเข้าบ้านน้อยลง เมื่อความร้อนเข้าน้อย ค่าไฟฟ้าของการใช้เครื่องปรับอากาศก็จะน้อยด้วย (เช่นเดียวกับเวลาเราขับรถหาที่จอดรถ เราก็มักจะเลือกจอดในร่ม เวลากลับเข้ามาในรถจะได้ร้อนน้อยกว่าการจอดกลางแดด) วิธีการที่ง่ายและให้ประโยชน์มากที่สุดของการ กาง ร่มให้บ้าน คือ การปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆ ได้เทียบเท่ากับเครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตันเลยทีเดียว
3. อย่าสร้างแหล่งความร้อน บริเวณพื้นที่ว่างรอบตัวบ้านที่หลายๆ บ้าน มักทำเป็นลานคอนกรีต ซึ่งลานคอนกรีตนั้นจะเป็นตัวดูดความร้อนและอมความร้อนไว้จนกลายเป็น แหล่งผลิตความร้อน หรือ มวล ความร้อน ซึ่งหากมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่และอยู่ทางทิศใต้หรือทิศตะวันตกแล้ว แทนที่จะได้ลมเย็นพัดเข้าบ้านให้เลือกใช้บล็อกสนามที่มีรูให้หญ้าสามารถขึ้น ได้ หรือไม่ต้อง กางร่มให้ลานคอนกรีต โดยปลูกต้นไม้กันแดด เป็นต้น
4. ยอมให้ลมพัดผ่าน ทุกครั้งที่มีลมพัดผ่านตัวเรา เราจะรู้สึกเย็นสบาย ถ้าบ้านเรามีลมเย็นพัดเข้าบ้านก็อาจไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือเปิดก็เพียงแต่น้อย ทิศทางลมหลักๆ ของประเทศเราคือลมหน้าร้อนพัดมาจากทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ส่วนลม หน้าหนาวพัดมาจากทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดวางบ้านให้ได้รับลมประจำต้องพยายามให้มีช่องเปิดที่ผนังด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ทั้ง 2 ด้าน แต่บ้านที่อยู่ในเมือง ลมอาจพัดมาได้จากหลายทิศทางเนื่องจากมีสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนอยู่เยอะ ทำให้ลมเปลี่ยนทิศ ก็สามารถเลือกเปิดช่องหน้าต่างด้านที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น เลือกด้านที่แดดส่องเข้าน้อยที่สุด เป็นต้น
5. เปิดบ้านรับแสงธรรมชาติ การที่แต่ละห้องในบ้านมีช่องแสงหรือหน้าต่างให้แสงธรรมชาติสามารถส่องเข้ามา ในห้องได้นั้นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าสำหรับโคมไฟในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีแสงสว่างธรรมชาติเพียงพอ การเปิดรับแสงธรรมชาติให้ส่องเข้าบ้านได้ดีนั้นควรอยู่ในทิศทางที่ไม่มีแสง แดดเข้ามาด้วยได้แก่ ทิศเหนือ ดังนั้น ถ้าทุกห้องมีแสงธรรมชาติเข้าได้เพียงพอเชื่อได้เลยว่าจะประหยัดค่าไฟได้ เดือนละหลายบาทแถมในห้องก็ไม่อับชื้นด้วย
6. ปรับที่ และปรับตัว เชื่อว่าที่บ้านของทุกคนนั้นจะมีบริเวณหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภายนอกบ้านหรือภายในบ้านที่ค่อนข้างจะเย็นสบายที่สุดในแต่ละ เวลา เช่น มีร่มเงา มีลมพัดผ่านอยู่เสมอ มีแสงสว่างธรรมชาติที่ดี เมื่อรู้แล้วว่าเป็นบริเวณใด ลองปรับการใช้สอยของตัวเรา เช่น จัดบริเวณนั้นให้เป็นที่ตั้งโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งเล่น พักผ่อนหรือทำงานเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงดังกล่าว เท่านี้ก็เป็นการ เคลื่อนตัวเราหาลมและแสงธรรมชาติ
7. ติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในบ้าน วัสดุพวกนี้มีหลายชนิดและหลายประเภทสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ และงบประมาณที่มี หากบ้านของเรามีการปรับอากาศตลอดเวลาทั้งหลัง(เหมือนตู้เย็น) คงต้องฟันธงบอกว่าติดทั้งหลัง แต่ในความเป็นจริงแต่ละบ้านจะมีการปรับอากาศเพียงบ้างห้องบางเวลา ก็ต้องเลือกติดตามงบที่มีในจุดที่ได้รับความร้อนที่สุดก่อน เป็นต้น
8. เรื่องน่ารู้ก่อนใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ใช้ส่วนใหญ่ในบ้านพักอาศัย แยกออกได้ 3 ส่วนคือ ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับการปรับอากาศไฟฟ้าที่ใช้สำหรับให้แสงสว่าง และไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ดังนั้น ควรที่จะ เลือกใช้ให้ถูกชนิด เครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตัน 1 เครื่อง ใช้ไฟฟ้ามากกว่ากับพัดลม 16-20 ตัว จะเลือกใช้อะไรก็ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ บำรุงรักษา เป็นหัวใจหนึ่งในการประหยัดค่าไฟ เช่น ทำความสะอาดหลอดไฟ ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศเครื่องปรับอากาศ การล้างทำความสะอาดพัดลม เป็นต้น ใช้อย่างถูกวิธี เช่น เตารีดกินไฟมากก็ควรรีดละมากไม่ต้องรีดบ่อย เครื่องซักผ้าก็เช่นกันซักครั้งละมากๆ ไม่ต้องซักบ่อย กาต้มน้ำเมื่อเดือดก็เอาปลั๊กออก ตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนัง เป็นต้น
