
ขยะอิเล็คทรอนิคส์ ใช้แล้วทิ้ง
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภูเขากองใหญ่ที่ชื่อ “ขยะอิเล็คทรอนิคส์”
ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีทุกวันนี้ยังมีส่วนเร่งให้สินค้า อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในสภาพตกรุ่นเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนเครื่องบ่อยที่สุด อายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน อยู่ระหว่าง 3-5 ปี ขณะที่โทรศัพท์มือถือมีอายุใช้งานเฉลี่ย 18 เดือน ในประเทศไทย เองจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 58,000 ตัน (ข้อมูลในปี 2546 )มีการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มือสองจากญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี และสิงคโปร์ มากถึง 265,000 ตัน จะเห็นได้ว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากจนน่าตกใจ ปัจจุบันปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 เท่าของขยะมูลฝอยในชุมชน โดยเฉพาะขยะที่มาจากผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ที่มีอัตรา การเปลี่ยนแปลงรุ่น และตกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ท้าให้มีการเลิกใช้และถูกทิ้งเป็นขยะสะสมเป็น ปริมาณมากตามความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ ประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ปลายทางขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลก ซึ่งถูกแฝงมาในรูปของการนำเข้าสินค้าคอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์มือถือที่ใช้แล้วจากต่างประเทศ ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้นและพร้อมจะเป็นขยะ อิเล็กทรอนิกส์ สร้างปัญหามลพิษ ทำใมขยะอิเล็คทรอนิคส์จึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก
ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ มีสารโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถจ้าแนกสารอันตรายที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ได้ ดังนี้
1. ตะกั่ว เป็นส่วนประกอบในการบัดกรีแผ่นวงจรพิมพ์ หลอดภาพรังสีแคโทด ( CRT) เป็นต้น โดย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไปท้าลายระบบประสาทส่วนกลาง ระบบโลหิต การท้างานของไต การ สืบพันธุ์ และมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็ก และท้าลายระบบประสาท ระบบเลือดและระบบ สืบพันธุ์ในผู้ใหญ่ นอกจากนี้ พิษจะสามารถสะสมได้ในสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดผลเฉียบพลัน หรือ แบบเรื้อรังได้ในพืชและสัตว์
2. แคดเมียม มักพบในแผ่นวงจรพิมพ์ ตัวต้านทาน และหลอดภาพรังสีแคโทด เป็นต้น ซึ่งสารนี้จะ สะสมในร่างกาย โดยเฉพาะที่ไต ท้าลายระบบประสาท ส่งผลต่อพัฒนาการและการมีบุตร หรือ อาจมีผลกระทบต่อพันธุกรรม
3. ปรอท มักพบในตัวตัดความร้อน สวิตซ์ และจอแบน โดยจะส่งผลในการท้าลายอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งสมอง ไต และเด็กในครรภ์มารดาได้ และถ้าลงสู่แหล่งน้้าจะเปลี่ยนรูปเป็น Methylated Mercury และตกตะกอน ซึ่งสะสมในสิ่งมีชีวิตได้ง่าย และจะสะสมต่อไปตามห่วงโซ่
4. โครเนียมเฮกซาวาแลนท์ ใช้ในการป้องกันการกัดกร่อนของแผ่นโลหะเคลือบสังกะสี ซึ่ง สามารถผ่านเข้าสู่ผนังเซลล์ได้ง่าย จะส่งผลในการท้าลายดีเอ็นเอ และเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับ มนุษย์
5. บริลเลียม ใช้ในแผนวงจรหลัก เป็นการก่อมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด โดยผู้ที่ได้รับสารนี้อย่าง ต่อเนื่องจากการสูดดมจะกลายเป็นโรค Beryllicosis ซึ่งมีผลกับปอด หากสัมผัสก็จะท้าให้เกิดแผล ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง
6. สารหนู ใช้ในแผงวงจร ซึ่งทำลายระบบประสาท ผิวหนังและระบบการย่อยอาหาร หากได้รับ ปริมาณมากอาจท้าให้ถึงตายได้
7. แบเรียม ใช้ในแผ่นหน้าของหลอดรังสีแคโทด ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อสมอง ท้าให้สมองบวม กล้ามเนื้ออ่อนล้า ท้าลายหัวใจ ตับและม้าม
8. ตัวทนไฟ ทำจากโบรมีน ใช้ในกล่อง พลาสติกของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจร และตัว เชื่อมต่อ ซึ่งเป็นสารที่มีพิษและสามารถสะสมได้ในสิ่งมีชีวิต ถ้ามีทองแดงร่วมด้วยจะเพิ่มความ เสี่ยงในการเกิดไดออกซินและฟิวแรนระหว่างการเผา เนื่องจากตัวทนไฟท้าจากโบรมีนมีอยู่หลาย รูปแบบ แบบที่มีอันตรายมากจะเป็นโบรมีนมีอยู่หลายรูปแบบ แบบที่มีอันตรายมากจะเป็นโพลี โบรมิเต็ดไบฟีนีล (Polybrominated Biphenyls-PBBs) ซึ่งก่อให้เกิดไดออกซิน สารก่อให้เกิด มะเร็งท้าลายการท้างานของตับ มีผลกระทบต่อระบบประสาทและภูมิต้านทาน ท้าให้การท้างาน ของต่อไทรอยด์ผิดพลาด รวมถึงระบบต่อมไร้ท่อสามารถสะสมในน้้านมของมนุษย์และกระแส เลือด สามารถถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหาร ตัวอย่างสารพิษในขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตะกั่ว ใช้มากในแบตเตอรี่ ผสมในฉนวนสายไฟ (PVC) แผ่นวงจรพิมพ์ (ตะกั่วบัดกรี) ปรอท พบในเครื่องมือวัดสวิตซ์หลอดไฟThermostat รีเลย์ แคดเมียม ใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์IR Detector จอภาพ รังสี แคโทด ผสมในพีวีซี แคดเมียม 6 ผงสี ป้องกันการกัดกร่อนใน Heat Exchange คลอรีน ฉนวนสายไฟ อาร์เซนิก (สารหนู) ในอุปกรณ์ความถี่สูง ในแผงวงจรไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือและ คอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยตัวเองเป็นสารพิษอันตราย และถ้าไปรวมกับวัสดุมีค่าอื่น ๆ เช่น ทองแดง ก็จะท้าให้ทองแดงปนเปื้อนอันตรายไปด้วย
การรับมือกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ทั่วโลกตื่นตัวการรับมือขยะอิเล็กทรอนิกส์ สหภาพยุโรปได้ออก ระเบียบว่าด้วยเศษ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(Waste Electrical and Electronic Equipment: WEEE) และ ระเบียบว่าด้วยการจ ากัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(The Restriction of the use of certain Hazardous Substance in electrical and electronic equipment: RoHS) โดยใช้บังคับกับผู้น้าเข้า สินค้าดังกล่าว และ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี2549 ซึ่งก้าหนดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องรับภาระ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวม กู้คืนและก้าจัดอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคไม่ใช้งานแล้ว เพื่อรณรงค์ให้ ผู้บริโภคตระหนักถึงผลกระทบจากการทิ้งอุปกรณ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ต่อไป หรืออุปกรณ์ที่ไม่ สามารถใช้งานได้แล้วให้น้าอุปกรณ์เหล่านี้กลับไปใช้ใหม่ หรือน้าไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี
การรณรงค์ลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะเริ่มตั้งแต่การจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี
คือ การใช้ ซ้ำ (Reuse) และ การนำไปใช้อีก (Recycle)
1. การใช้ซ้ า (Reuse) เป็นการน้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว และที่ไม่ต้องการใช้กลับมาใช้ ใหม่อีกครั้ง อาจจะนำมาซ่อมแซม หรือนำไปบริจาคให้กับผู้ที่ขาดแคลน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันอย่าง แพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง สหรัฐอเมริกา ได้น้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เลิกใช้แล้ว ไปบริจาคให้ประเทศที่ก้าลังพัฒนาในแถบแอฟริกาและเอเชีย
2. การรีไซเคิล (Recycle) เป็นการน้าส่วนที่ยังเป็นประโยชน์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแยก ส่วนประกอบและวัตถุที่มีค่าภายในออกมา อาทิ โลหะมีค่า เงิน ทองค้าขาว และทองแดง เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลและนำไปผลิตอุปกรณ์อย่างอื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
แม้ว่าจะเราจะมีวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ในวันที่ 5 มิถุนายน ของ ทุกปี เพื่อรณรงค์ให้คนรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์คงไม่สามารถจบลง ได้ด้วยการรณรงค์เพียงแค่ปีละ 1 วันเท่านั้น หากแต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างจิตส้านึกในการ ใช้งานเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้บริโภคทุกคน
