100 คำถาม เรื่องสิ่งแวดล้อม
โพสเมื่อ : 30 มี.ค. 59
100 คำถามสิ่งแวดล้อม

1. สิ่งแวดล้อมคืออะไร ?

สิ่งแวดล้อมคือทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา และส่งผลต่อเราทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น แสดแดดจากดวงอาทิตย์ อากาศที่เราหายใจ ทะเล ป่าไม้ สัตว์และพืช และที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ

2. คุณภาพสิ่งแวดล้อมหมายความว่าอย่างไร ?

คุณภาพสิ่งแวดล้อมหมายถึงดุลยภาพของธรรมชาติ อันได้แก่ สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้นทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพของประชาชน
และความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติ

3. เขตอนุรักษ์คืออะไร ?

เขตอนุรักษ์ หมายความถึงเขตอุทยานแห่งชาติ เขตสงวนเพื่อการท่องเที่ยวและเขตพื้นที่คุ้มครองอย่างอื่นเพื่อสงวนและรักษาสภาพธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด

4. พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหมายความว่าอะไร ?

พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหมายถึงพื้นที่ใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารหรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไปหรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับความกระทบกระเทือนจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือสมบัติอันควรแก่การอนุรักษ์

5. นิเวศวิทยาคืออะไร ?

นิเวศวิทยาคือ การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่พืชและสัตว์พึ่งพาสิ่งแวดล้อมของมันและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอด ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ต้องการแสงอาทิตย์ อากาศ น้ำและดิน เพื่อการเติบโตเมื่อต้นไม้ทิ้งใบลงสู่ดิน ใบไม้ทั้งหลายก็จะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ ให้กลับกลายไปเป็นธาตุอาหารให้กับดินต่อไป

6. ระบบนิเวศคืออะไร ?

ระบบนิเวศคือ ระบบความผูกพันของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ในพื้นที่เฉพาะแห่งที่ต้องพึ่งพากันและกันตั้งแต่ห่วงโซ่ อาหารการค้ำจุนชีวิต เช่น ระบบนิเวศป่าของป่าไม้ ระบบนิเวศของทะเล เป็นต้น

7. ห่วงโซ่อาหารคืออะไร ?

ห่วงโซ่อาหารคือ ระบบของการเป็นอาหารให้กันและกันของสิ่งมีชีวิตซึ่งในกระบวนการดังกล่าวพลังงานจะผ่านจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปอีกชีวิตหนึ่ง เช่น พืชสีเขียวผลิตอาหารโดยการสังเคราะห์แสงจากดวงอาทิตย์ จากนั้นพืชสีเขียวก็จะเป็นอาหารให้แก่สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารและสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารก็จะเป็นอาหารให้กับสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหารต่อไป

8. มลพิษหมายความถึงอะไร ?

มลพิษหมายถึง ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่นๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษหรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตาม ธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิด หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และหมายความรวมถึงรังสีความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือนหรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย

9. ภาวะมลพิษคืออะไร ?

ภาวะมลพิษคือ สภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อนโดยมลพิษซึ่งทำให้ คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษในดิน

10. แหล่งกำเนิดมลพิษหมายความว่าอย่างไร?

แหล่งกำเนิดมลพิษหมายความถึงชุมชนโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ สถานที่ประกอบกิจการใด ๆ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นแหล่งที่มาของมลพิษ

11. สารพิษที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมเกิดจากอะไร?

สารพิษที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เป็นสารพิษที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมจากการ เกษตรกรรม จากสารปรุงแต่งอาหาร ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกาย

12. อันตรายของสารพิษเกิดจากอะไร?

อันตรายจากสารพิษเกิดจากโมเลกุลของสารพิษซึ่งมีขนาดเล็กมากและสามารถละลายน้ำได้ง่ายจึงสามารถดูดซึมผ่านลำไส้ข้าสู่กระแสเลือดและถูกนำพาไปยังเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายให้ไปสะสมอยู่ในส่วนต่างๆของเซลในร่างกาย

13. ภาวะอันตรายของสารพิษในร่างกายเกิดขึ้นเมื่อใด?

ภาวะอันตรายของสารพิษในร่างกายเกิดขึ้นเมื่อโมเลกุลของสารพิษเกิดการรวมตัวกับโครโมโซมในร่างกายของมนุษย์ทำให้การขับออกจากร่างกายเป็นไปได้ยากทำให้เกิดความเป็น พิษขึ้นกับกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

14. ของเสียคืออะไร ?

ของเสียคือ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใดซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษรวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นมีทั้งที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ

15. เราช่วยลดภาวะของเสียได้หรือไม่?

เราสามารถช่วยลดภาวะของเสียได้ โดยปฏิบัติตาม 3R ซึ่งเป็นแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้ R1 คือ การลดการใช้ (Reducing) R2 คือ การใช้อีก (Reusing) R3 คือ การนำของเสียกลับมาผลิตใช้ใหม่ (Recycling)

16. R1 การลดการใช้คืออะไร?

R1 (Reducing) หมายถึง การใช้ให้น้อยลงหากเราพยายามใช้ของที่ทำให้เกิดขยะน้อยลงก็เท่ากับเราได้เริ่มต้นช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

17. R2 การใช้อีก คืออะไร?

การใช้อีก (Reusing) คือการนำของที่ใช้แล้วและจะทิ้งมาดูว่าจะดัดแปลงใช้ประโยชน์ทำอะไรได้บ้าง เช่น กล่อง กระดาษแข็ง ขวดกาแฟ ถุงใส่ของ ซองใส่เอกสาร

18. R3 การนำของเสียกลับมาผลิตใช้ใหม่คืออะไร?

การนำของเสียกลับมาผลิตใช้ใหม่ (Recycling) คือกระบวนการผลิตของเสีย เพื่อนำ กลับมาใช้อีก เช่นกระเบื้อง อลูมิเนียม กระจก กระดาษ พลาสติก ซึ่งเป็นวิธีลดขยะ ลดการใช้พลังงาน และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลให้กับโลก

19. เครื่องหมาย re หมายถึงอะไร ?

เครื่องหมาย re เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เคยใช้แล้วนำกลับมาผลิตใช้ใหม่หรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาผลิตใช้ได้ใหม่อีก

20. อะไรบ้างที่นำกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้?

สิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้แล้วนำกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้ ได้แก่ แก้ว พลาสติก อลูมิเนียม กระดาษ

21. ในร่างกายของมนุษย์มีน้ำอยู่เท่าใด?

ในร่างกายของมนุษย์มีน้ำอยู่ประมาณ 65% ในแอปเปิ้ลมีน้ำอยู่ถึง 80% และในมะเขือเทศและแตงโมมีน้ำอยู่เป็นปริมาณมากถึง 90%

22. น้ำมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันกี่สถานะ?

น้ำมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน 3 สถานะ คือ

  • น้ำในสถานะที่เป็นของเหลวได้แก่น้ำในแม่น้ำลำธาร ห้วย หนอง คลองบึง ทะเล
  • น้ำในสถานะที่เป็นของแข็งได้แก่ น้ำแข็ง หิมะ และลูกเหน็บ
  • น้ำในสถานะที่เป็นก๊าซได้แก่ไอน้ำที่ลอยอยู่ในอากาศ

23.วัฏจักรของน้ำคืออะไร ?

วัฏจักรของน้ำคือกระบวนการหมุนเวียนของน้ำตามระบบธรรมชาติที่เกิดต่อเนื่องกันโดยไม่มีจุดจบตั้งแต่การระเหยเป็นไอน้ำ การกลั่นตัวของไอน้ำ การรวมตัวเป็นก้อนเมฆ และตกลงมาสู่พื้นโลกของฝนหิมะ และลูกเห็บ

24. คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำคืออะไร?

คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำคือการเป็นตัวทำละลายสารอื่นๆ คือน้ำสามารถละลายสิ่งต่าง ๆ ให้กลายเป็นองค์ประกอบในตัวมันเองได้ น้ำจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่สะสมธาตุอาหารต่าง ๆ ไว้ในตัวมากที่สุด

25. น้ำ สูญหายไปจากโลกหรือไม่?

น้ำไม่เคยสูญหายไปจากโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ในโลกในปัจจุบันมีเท่ากับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในโลกเมื่อ 6000 ปีที่แล้ว อันเป็นช่วงเวลาของการเกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส เพียงแต่ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับปริมาณน้ำ ณ ที่ต่าง ๆ ขึ้น เช่น ที่หนึ่งปริมาณน้ำอาจเพิ่มขึ้นขณะที่อีกที่หนึ่งปริมาณน้ำอาจลดลง

26. อะไรเป็นสาเหตุให้ปริมาณน้ำแต่ละที่ไม่คงที่?

ความเปลี่ยนแปลงผันแปรของภูมิอากาศ ทำให้การคืนกลับของน้ำ ณ บริเวณหนึ่งๆ ไม่คงที่และไม่สม่ำเสมอ คือ ทำให้อัตราส่วนการคืนกลับไม่เท่ากับอัตราส่วนที่ได้ระเหยไปจากบริเวณผิวโลก ณ ที่นั้น

27. ความผันแปรของภูมิอากาศทำให้เกิดอะไรขึ้นกับโลก?

ความผันแปรของภูมิอากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การเกิดอุทกภัย และสภาวะความแห้งแล้งในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

28. เขื่อนสร้างขึ้นเพื่ออะไร?

เขื่อนสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำ ณ บริเวณพื้นที่ต้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลบ่าไปจนหมดในหน้าฝน และเพื่อปล่อยน้ำลงมาใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำให้ไหลเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการใช้ประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ

29. น้ำทิ้งคืออะไร?

น้ำทิ้งคือน้ำโสโครกที่ผ่านการใช้ประโยชน์แล้วจากกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ เช่น น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม

30. น้ำทิ้งจากโรงงานมีอันตรายหรือไม่?

น้ำทิ้งจากโรงงานเป็นน้ำโสโครกที่มีอันตรายเพราะมีกากสารพิษได้แก่ โลหะหนัก น้ำมัน และสารละลายเจือปนอยู่

31. สารอินทรีย์คืออะไร ?

สารอินทรีย์คือ สารที่ประกอบด้วยไขมัน น้ำมัน และโปรตีน

32. สารอินทรีย์ทำให้เกิดอะไรขึ้นกับน้ำ?

สารอินทรีย์เป็นสิ่งปฏิกูลตัวสำคัญที่ทำให้เกิดความเน่าเสียขึ้นกับแหล่งน้ำทำให้น้ำเน่า มีกลิ่น หรือมีสีดำคล้ำ

33. จุลินทรีย์คืออะไร ?

จุลินทรีย์ คือ ชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ในน้ำ หน้าที่ของจุลินทรีย์ก็คือการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยการใช้ออกซิเจนเข้ามาช่วย ดังนั้น ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำยิ่งเพิ่มขึ้นเท่าใดจุลินทรีย์ก็จะดึงออกซิเจนมาช่วยในการย่อยสลายมากขึ้นเท่านั้นและการนำเอาออกซิเจนมาใช้มากเกินไป ทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ขาดแคลนออกซิเจนกลายเป็นแหล่งน้ำเสีย

34. บีโอดีคืออะไร ?

บีโอดี เป็นคำศัพท์ที่ย่อมาจากคำว่า Biochemical Oxygen Demand เป็นค่าที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ปริมาณของความสกปรกของน้ำทิ้งเป็นตัววัด

35. ค่าบีโอดีได้จากอะไร ?

ค่าของบีโอดีจะแสดงถึงปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ ถ้าน้ำทิ้งมีสารอินทรีย์สูง มีปริมาณของออกซิเจนที่ถูกจุลินทรีย์ดึงไปใช้ ในการย่อยสลายก็สูงค่าบีโอดีน้ำนั้นก็จะสูงด้วย

36. ค่าบีโอดีบอกถึงอะไร?

ค่าบีโอดีบอกถึงความเน่าเสียของน้ำ นั่นคือค่าบีโอดียิ่งสูงก็หมายถึงความเน่าเสียของน้ำในแหล่งน้ำนั้นยิ่งมากขึ้นด้วย

37. การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลเกิดจากสาเหตุอะไร?

การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลบางครั้งเกิดจากการรั่วไหลซึมของบ่อน้ำมันหรือท่อน้ำมัน หรือจากเรือบรรทุกน้ำมัน เมื่อรั่วไหลลงสู่ทะเลแล้ว น้ำมันก็จะกระจายแผ่เป็นแผ่นบางๆ ปกคลุมพื้นผิวน้ำ

38. อันตรายที่เกิดจากคราบน้ำมันคืออะไร?

คราบน้ำมันจะเกาะจับบนปีกนก ที่บินโฉบลงมาหากินในทะเลทำให้ปีกของนกเหนียวหนืด แผ่กางปีกออกบินไม่ได้ นอกจากนี้บางครั้งคราบน้ำมันก็เข้าไปอุดตันในเหงือกปลาทำให้ปลาหายใจไม่ได้ และบางส่วนของน้ำมันก็จะซึมลงไปในฟองไข่ของสัตว์น้ำที่ลอยอยู่บนผิวน้ำทำให้ตัวอ่อนในไข่ตาย

39. การบำบัดน้ำเสียคืออะไร ?

การบำบัดน้ำเสียคือกระบวนการฟื้นฟูคุณภาพความสะอาดให้กับน้ำที่ผ่านการใช้มาแล้ว

40. การบำบัดน้ำเสียมีกี่ประเภท?

มี 4 ประเภทคือ

1. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางกายภาพ

2. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางเคมี

3. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางชีววิทยา

4. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี

41. ในอากาศบริสุทธิ์มีส่วนผสมของก๊าซไนโตรเจนอยู่เท่าใด?

ในอากาศบริสุทธิ์นั้นมีส่วนผสมของก๊าซไนโตรเจนอยู่ร้อยละ 78

42. ก๊าซไนโตรเจนสำคัญต่อโลกอย่างไร ?

ก๊าซไนโตรเจนเป็นตัวช่วยเจือจางก๊าซออกซิเจนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตและช่วยให้เกิดชั้นโอโซนเพื่อช่วยปกป้องโลกจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต

43. เมฆหมอก ไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำคัญต่อโลกอย่างไร ?

เมฆหมอก ไอน้ำ และก๊าซคาร์ไดออกไซด์ ช่วยทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิบริเวณพื้นผิวโลก ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลย์ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน

44. อะไรเป็นสาเหตุให้โลกร้อนขึ้น ?

โลกร้อนขึ้นเพราะการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศ

45. อะไรเป็นสาเหตุให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ?

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ อาทิ การเผาไหม้เชื้อเพลิงและถ่านหิน การเผายังทำให้เกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากลอยขึ้นไปสะสม เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ และกลายเป็นตัวสกัดกั้นความร้อนจากโลกไม่ให้กระจายออกไปทำให้โลกร้อนขึ้น

46. โอโซนคืออะไร?

ก๊าซที่พบอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ซึ่งอยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 20-60 กิโลเมตร

47. โอโซนเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

โอโซนเป็นก๊าซที่เกิดจากการที่รังสีอุลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ส่องมากระทบกับโมเลกุลของออกซิเจนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ทำให้อะตอมของออกซิเจนแตกตัวเป็นอะตอมอิสระเมื่ออะตอมอิสระนี้รวมตัวเข้ากับโมเลกุลของออกซิเจนที่ยังไม่แตกตัว ก็เกิดกลายเป็นโมเลกุลใหม่เกิดเป็นก๊าซโอโซนขึ้น

48. ก๊าซโอโซนมีความสำคัญต่อโลกอย่างไร ?

ก๊าซโอโซนมีคุณสมบัติพิเศษในการสามารถดูดซึมซับ รังสีอุลตร้าไวโอเลต ไม่ให้ส่องกระทบโดยตรงยังพื้นผิวโลก หน้าที่ของโอโซนจึงคล้ายเป็นหลังคาให้กับโลก

49. มีโอโซนอยู่มากน้อยเท่าใดในบรรยากาศ ?

ในความสมดุลย์ของธรรมชาตินั้นโอโซนเป็นก๊าซที่มีปริมาณน้อยมาก + ในชั้น บรรยากาศโลกประมาณกันว่า มีความหนาเพียง มิลลิเมตรเท่านั้น

50. โอโซนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร ?

โอโซนเป็นก๊าซที่ช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตให้รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายจากความร้อนแรงของรังสีอุลตร้าไวโอเลต

51. สารซีเอฟซีคืออะไร ?

สารซีเอฟซี คือ ชื่อย่อของสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนซึ่งเป็นสารเคมีที่มนุษย์คิดค้นและผลิตขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1930

52. สารซีเอฟซี ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ?

คุณประโยชน์ของสารซีเอฟซีก็คือใช้เป็นสารทำความเย็นในตู้เย็นและในระบบความ เย็นต่าง ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ น้ำยาดับเพลิง น้ำยาซักแห้งและใช้เป็นก๊าซขับดันใน กระป๋องสเปรย์

53. ทำไมสารซีเอฟซีจึงเป็นก๊าซอันตราย ?

ซีเอฟซี เป็นสารที่มีความคงตัวสูงมาก ดังนั้นมันจึงสลายตัวได้ช้าที่สุดและจึงทำให้สารซีเอฟซีกลายเป็นสารมหาภัยของโลก

54. สารซีเอฟซี ก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างไร ?

เมื่อสารซีเอฟซี ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมันก็จะลอยขึ้นไปถึงชั้นสตร้าโทสเฟียร์ ณ ที่นั้นรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ทำให้ซีเอฟซีแตกตัวออก และปล่อยอะตอมของคลอรีนออกมา อะตอมของคลอรีนนี้ก็ไปดึงอะตอมของออกซิเจนจากโมเลกุลของโอโซนออกมาเพื่อสร้างสารชนิดใหม่ชื่อคลอรีนมอนอกไซด์ ดังนั้นยิ่งสารซีเอฟซีเพิ่มมากขึ้นเท่าใดอะตอมของโอโซนก็จะถูกทำลายลงมากขึ้นด้วย

55. รังสีอุลตร้าไวโอเลตคืออะไร ?

รังสีอุลตร้าไวโอเลตเป็นรังสีที่เกิดมาจากดวงอาทิตย์เป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในปริมาณที่พอเหมาะ รังสีอุลตร้าไวโอเลตจะมีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดี แต่
หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เป็นอันตรายต่อผิวหนัง เช่น ทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นมะเร็ง ที่ผิวหนังและเป็นอันตรายกับดวงตา

56. เชื้อเพลิงฟอสซิสคืออะไร ?

เชื้อเพลิงฟอสซิล คือ เชื้อเพลิงที่เกิดจากซากของสิ่งมีชีวิตภายใต้กระบวนการตามธรรมชาติ ณ ใต้พื้นพิภพเป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้ว

57. กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในโลกส่วนใหญ่ได้มาจากไหน ?

กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในโลกส่วนใหญ่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งส่วนใหญ่ คือ ถ่านหิน

58. การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้เกิดอะไรขึ้นกับโลก ?

การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และกิจการอุตสาหกรรมทั้งหลายนั้นได้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กระทบออกสู่บรรยากาศเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี

59. เพราะเหตุใด การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจึงมีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกขึ้น ?

เพราะน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อถูกเผาผลาญก็จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น และการเพิ่มของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกขึ้นกับโลก

60. คาร์บอนคืออะไร ?

คาร์บอนเป็นธาตุที่สำคัญมากที่สุดธาตุหนึ่งในองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในร่างกายของมนุษย์นั้นองค์ประกอบครึ่งหนึ่งของสสารที่เป็นของแข็งคือส่วนที่เป็นคาร์บอน

61. ในต้นไม้มีส่วนประกอบของธาตุคาร์บอนอยู่เท่าใด ?

ในต้นไม้ต้นหนึ่งๆ จะมีส่วนประกอบที่เป็นธาตุคาร์บอนอยู่ถึง 90 ส่วน

62. การหมุนเวียนของธาตุคาร์บอนเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อใดก็ตามที่สิ่งมีชีวิตตายลง ต้นไม้ถูกโค่นและเผาธาตุคาร์บอนที่สะสมอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและในเนื้อไม้ก็จะกลับคืนสู่อากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

63. สารมลพิษในอากาศที่สำคัญมีอะไรบ้าง ?

สารมลพิษ ในอากาศที่สำคัญที่มีอันตรายต่อมนุษย์โดยตรง ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนและตะกั่ว

64. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศมากที่สุด คือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

65. ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมและจากรถยนต์

66. ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไร ?

ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำลายเนื้อเยื่อปอด และเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ

67. ฝนกรดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เมื่อใดก็ตามที่ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ได้สัมผัสกับความชื้นในบรรยากาศก็จะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นกรดซัลฟูริคและกรดไนตริค ถ้าความชื้นไม่มากนักก็จะเป็นกรดที่แห้งและมีขนาดเล็กแต่ในความชื้นสูงจะทำให้เกิดเป็นฝนกรดตกลงสู่พื้นโลกเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

68. มลพิษทางอากาศในอาคารบ้านเรือนเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

มลพิษทางอากาศในอาคารบ้านเรือนเกิดขึ้น เนื่องจากการขาดการระบายถ่ายเทของอากาศ อากาศจะบริสุทธิ์และสมดุลย์ได้ก็ด้วยการถ่ายเทและการเคลื่อนที่ การปิดกั้นอากาศจะทำให้อากาศสะสมมลพิษไว้และส่งผลถึง ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารบ้านเรือนนั้น ๆ

69. ความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายมนุษย์คืออะไร ?

ความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายมนุษย์ คือการถ่ายเทความร้อนระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อม และความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อความร้อนที่ร่างกายได้รับมีค่าเท่ากับความร้อนที่ถูกปล่อยออกจากร่างกาย

70. ความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายอยู่ในระดับกี่องศา ?

โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะรักษาความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายไว้ในระดับเฉลี่ยประมาณ 37 องศาเซลเซียส เมื่อใดที่ความสมดุลย์นี้สูญเสียไปร่างกายจะไม่เป็นสุข

71. อาคารบ้านเรือนที่ถูกสุขลักษณะควรเป็นอย่างไร ?

อาคารบ้านเรือนที่ถูกสุขลักษณะจะต้องมีประตูหน้าต่างและช่องลมเพียงพอต่อการระบายอากาศ

72. อากาศร้อนมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร ?

อากาศที่ร้อนเกินไปจะทำให้ร่างกายรู้สึกอบอ้าวอ่อนเพลียเหงื่อออกมากและเกิดสิ่งสกปรกในอากาศด้วย
73. อากาศหนาวมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร ?

อากาศที่หนาวเกินไปจะทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนและมีผลต่อการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
74. ห้องที่พักอาศัยที่ถูกสุขลักษณะ จะต้องเป็นอย่างไร ?

ห้องที่พักอาศัยที่ถูกสุขลักษณะจะต้องมีความสูงจากพื้นห้องถึงเพดานไม่ต่ำกว่า 240 เซนติเมตร มีพื้นที่อยู่อาศัยไม่ต่ำกว่า 10 ลูกบาศก์เมตรต่อคน และมีพื้นที่ประตู หน้าต่าง และช่องระบายลม รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ห้อง

75. การระบายอากาศในอาคารบ้านเรือนควรทำอย่างไร ?

การระบายอากาศในอาคารบ้านเรือนนอกจากจะมีระบบการระบายอากาศที่เหมาะสมแล้ว อีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศช่วยปรับระดับอุณหภูมิและการถ่ายเท
ของอากาศในบ้านได้

76. แสงสว่างในอาคารที่พักอาศัยควรเป็นอย่างไร ?
ในอาคารที่พักอาศัยจะต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ เพราะแสงสว่างมีผลโดยตรงต่อสายตาแสงสว่างที่จ้าเกินไปหรือสลัวเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดเลนส์นัยน์ตาต้องทำงานหนักจะทำให้ประสาทตาเสื่อมก่อนถึงวัยอันควร
77. แสงไฟประเภทใดที่มีอันตราย ?

แสงไฟที่มีอันตรายควรหลีกเลี่ยง คือ แสงไฟกระพริบเพราะแสงไฟกระพริบจะทำให้เกิดการกระตุ้นประสาทตาตามจังหวะการกระพริบของแสงมีผลทำให้ประสาทตาเสียเร็วกว่าปกติ
78. เหตุรำคาญคืออะไร ?

เหตุรำคาญ หมายถึง สภาวะที่ทำให้เกิดการรบกวนต่อประสาทสัมผัสที่เกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือบ่อยๆจนทำลายความสงบสุขให้หมดไป

79. เหตุรำคาญที่เกิดอยู่บ่อย ๆ มีอะไรบ้าง ?

ได้แก่ เสียงดังรบกวนการสั่นสะเทือน แสงสว่างรบกวน กลิ่นเหม็น ฝุ่นและควัน

80. เหตุรำคาญมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร ?

เหตุรำคาญทำให้เกิดความหงุดหงิดรำคาญและมีผลไปถึงประสิทธิภาพการทำงานโดยทำให้สมาธิการทำงานน้อยลงต้องใช้เวลาในการทำงานนานกว่าปกติหรือทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่ได้
81. ความสั่นสะเทือนมีผลต่อร่างกายอย่างไร ?

อันตรายจากความสั่นสะเทือนจะมีผลทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้นกว่าปกติและทำให้ปอดและหัวใจทำงานหนักขึ้น
82. อลูมิเนียมคืออะไร ?

อลูมิเนียม เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบาและมีสีเงินตัวของมันเองไม่แข็งแรงเมื่อเราใช้อลูมิเนียมเรามักผสมกับทองแดงหรือสังกะสีเพื่อทำให้แข็งแรงขึ้น
83. ทำไมจึงใช้อลูมิเนียมในการผลิตกระป๋องเครื่องดื่มแคน ?

เพราะอลูมิเนียมเป็นโลหะที่เย็นตัวเร็ว และรักษาความเย็นได้ กระป๋องเครื่องดื่มแคนจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย
84. การผลิตกระป๋องเครื่องดื่มแคนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?

กระป๋องเครื่องดื่มแคนผลิตจากอลูมิเนียมซึ่งในการผลิตอลูมิเนียมให้ได้ 1 ตันนั้นจะต้องใช้แร่อลูมิเนียมบริสุทธิ์จากธรรมชาติมาเป็นวัตถุดิบถึง 5 ตัน ใช้พลังความร้อนจากไฟฟ้า ถึง 18,000 กิโลวัตต์ และยังก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่กระจายออกสู่อากาศอีกถึง 18 ตัน

85. วิธีการประหยัดการใช้ประโยชน์จากกระป๋องเครื่องดื่มทำได้อย่างไร?

ประหยัดได้โดยการรีไซเคิลกระป๋องแคนเมื่อใช้แล้วสามารถหมุนเวียนส่งกลับโรงงานเพื่อผลิตใหม่ได้อีก ซึ่งในการรีไซเคิลกระป๋องแคนนั้นจะใช้ความร้อนเพียงร้อยละ
5 ของการ ผลิตครั้งแรกเท่านั้น

86. เรานำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่อย่างไร ?

ขั้นตอนที่หนึ่งคือ การเก็บรวบรวมกระป๋องอลูมิเนียมจากนั้นก็ส่งเข้าโรงงาน เพื่อบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาทำให้เป็นแท่งและนำมารีดให้เป็นแผ่นแล้วส่งเข้าโรงงานทำกระป๋องใบใหม่ที่ไม่มีขีดจำกัดว่าจะนำอลูมิเนียมมาผลิตใช้ได้ใหม่อีกกี่ครั้ง
87. การเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ทำให้เกิดอะไรขึ้น ?

ทุกครั้งที่ตู้เย็นถูกเปิดออกอากาศเย็นภายในตู้จะถ่ายเทออกนอกตู้ และภายในตู้ก็จะถู