ปรากฏการณ์ฟอกขาว (Bleaching)
โพสเมื่อ : 15 มิ.ย. 54

รูปปะการัง
        ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาในพื้นที่เขต จ.ชุมพร และจ.สุราษฎธานี โดยเฉพาะเกาะเต่า, เกาะสมุย, เกาะพงัน พบว่ามีปะการังและหอยมือเสือตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปรากฏการณ์ฟอกขาว หรือ Bleaching สาเหตุของปรากฏการณ์นี้ นับเริ่มตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา ความล้มตายจากปรากฏการณ์นี้รุนแรงและอัตราความเสียหายที่เร็วและขยายวงกว้างไกลออกไปมากขึ้น ปะการังตายและผุสลายลงหลายบริเวณ  รังสีอุตราไวโอเล็ตที่แผ่รังสีมากขึ้นจากรอยรูรั่วของชั้นโอโซนในบรรยากาศ

อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงทำให้แนวปะการังซีด

        ปะการังซีดเกิดขึ้นจากความหนาแน่นของกลุ่มชีวิตที่พึ่งพา ตายและลดลงจำนวนลง สีที่เห็นซีดเพราะการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายเซลล์เดียวในวงจรชีวิตที่พึ่งพาไม่เต็มที่สมบรูณ์ในแนวปะการัง โดยทั่วไปจะมีปริมาณกลุ่มวงจรชีวิตอยู่ราว 1 - 5 x 10 ต่อพื้นที่ผิวน้ำหนึ่งตารางเซ็นติเมตรและมีปริมาณคลอโรฟิลด์ในกลุ่มวงจรชีวิตพึ่งพาอยู่ราว 2 - 10 pg ร้อยละหกสิบถึงเก้าสิบของแนวปะการังที่เห็นซีดลงนั้น มีปริมาณที่ซีดลงร้อยละ 50 - 80 ปะการังซีดลงเรื่อย ๆ หากไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้ราว 2 - 3 เดือนตัวปะการังก็จะตาย
        สาเหตุของปะการังซีดลงสมมติฐานว่า เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้รังสีของแสงแดดจัดจ้าจนส่งผลให้ระบบการดำรงอยู่ของกลุ่มวงจรชีวิตที่พึ่งพาต้องแยกจากกันด้วย เพราะเมื่ออุณหภูมิสูงกิน 30 องศาเซลเซียล ระบบการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายเซลล์เดียวก็เสื่อมลง ก๊าซออกซิเจนที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งตัวปะการังต้องการน้อยลง ระบบชีวิตที่พึ่งพากันจึงเสื่อมลงไปด้วย

อุณหภูมิแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทำให้แนวปะการังซีด

        ปรากฏการณ์ปะการังซีดเกิดจากองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมหลายอย่างเป็นการยากที่จะค้นหาสาเหตุได้ทั้งหมด แต่ที่แน่นอนก็คือกลุ่มวงจรชีวิตที่พึ่งพาอาศัยอยู่ได้ในอุณหภูมิที่มีขอบเขตแน่นอนอยู่ระหว่าง 18 - 28 องศาเซลเซียล ความไม่สม่ำเสมอที่น้ำทะเลต้องมีระดับน้ำขึ้นและลงก็นำมาถึงสาเหตุได้อย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันของอุณหภูมิในแต่ละวันหรือในช่วงของวันก็เป็นสาเหตุได้ (อุณหภูมิ -3 ถึง -5 องศาเซลเซียลที่เปลี่ยนแปลงใน 5 - 10 วัน ) ฤดูกาลที่เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวก็เป็นสาเหตุได้ หากพอจะประมวลเป็นสาเหตุจะจำแนกได้ดังนี้

        รังสีจากดวงอาทิตย์

        การซีดของปะการัง เกิขึ้นได้แม้จากความร้อนในฤดูร้อน แม้จากอุณหภูมิและรังสีจากแสงอาทิตย์ที่สาดไปทั่วความตื้นลึกไม่เท่ากันของท้องทะเลเป็นคลื่นความร้อนทั้งรังสีของแสงแดด (ปริมาณที่ 400 - 700 ม.ม.) และรังสีอุลตราไวโอเล็ต (280 - 400 ม.ม.) ล้วนมีส่วนร่วมกันเป็นสาเหตุของปะการังซีด

        การถูกแดดลมฝนกระทำ

        ทันทีที่กระแสน้ำมีขึ้น - ลงปะการังที่อยู่แนวตื้นริมฝั่งก็จะได้รับผลกระทบนี้ ปรากฏการณ์เอลนิโญ ก่อให้เกิดกระแสการไหลของน้ำในมหาสมุทรผันผวน ส่งผลต่อให้ปะการังทวีความซีดและยังมีสิ่งที่ตามมาคือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือต่ำลง แสงอาทิตย์ที่จัดจ้าขึ้น การงวดแห้งของระดับน้ำทะเล การเอ่อขึ้นจากฝนที่ตกอย่างหนัก ทำให้ความเค็มของน้ำทะเลเจือจางลงล้วนส่งผลหายนะในแนวปะการังทั้งสิ้น
ปะการัง
        ตะกอนและความขุ่นของน้ำทะเลเพิ่มขึ้น

        ความสัมพันธ์กันของกรณีตัวอย่างหลายกรณีที่กล่าวถึง มีผลทำให้เกิดตะกอนและความขุ่นในน้ำทะเลมากขึ้นเพิ่มองค์ประกอบที่ทำให้ปะการังซีดมากขึ้น

        น้ำจืดเข้าปะปนน้ำทะเล

        กระแสพายุพัดพากระแสน้ำให้ไหลเปลี่ยนไปเร็วขึ้น น้ำจืดจากฝั่งก็เร่งทะลักลงทะเล แม้จะเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์เล็ก ๆ องค์ประกอบหนึ่งให้ปะการังใกล้ชายฝั่งสูญเสียลง

        สภาพสารและธาตุในน้ำทะเล

        สาร - ธาตุ ที่เจืออยู่ในน้ำทะเล (ตัวอย่างเช่น แอมโมเนียและไนเตรด) ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความหนาแน่นของกลุ่มชีวิตที่พึ่งพากันอยู่ แม้แต่พัฒนาการของโลกที่ดำเนินไปซึ่งมิใช่การทำลายชีวิตปะการังโดยตรง แต่ก็มีผลทางอ้อมที่ทำให้เกิดผลเสียหายแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

        สารชีวภาพที่มนุษย์ใช้ประจำวัน

        ระบบชีวิตที่พึ่งพากันของปะการังถูกทำลายมากยิ่งขึ้น ด้วยเคมีสารที่เจือมาให้น้ำทะเลสกปรกยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น สารตะกั่วน้ำมัน หรือแม้กระทั่งสารชีวภาพในสิ่งที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันก็ทำให้เกิดสาหร่ายบางชนิดงอกงามรุกรานแนวปะการัง ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องทะเลอ่าแม่ยาย หมู่เกาะสุรินทร์ของไทย สารชีวภาพจะมีปริมาณหลั่งไหลสู่น้ำทะเลอย่างมากในบางพื้นที่หรือในบางช่วงเวลา

        เชื้อโรคที่รุมกระทำ

        เชื้อโรคบางชนิดกระจายแพร่หลายเป็นเหตุให้แนวปะการังซีด มันเป็นสาเหตุต่างจากสาเหตุอื่น ๆ ปะการังจำนวนมากที่สุด เกิดมีโรคติดต่อทำหลายให้แนวปะการังนั้นถึงกับหักทำลายยับลง เมื่อตัวปะการังถูกเชื้อดรคและตายไปผลที่เกิดขึ้นนี้จะเห็นได้จากโครงสร้างของแนวปะการังมีสีขาว (ต่างกับปะการังสีซีด) และหักทลายราบในที่สุด มีเชื้อโรคอยู่ 2 - 3 ชนิด ที่พบล่องลอยอยู่ในน้ำทะเลใส ๆ นั้น มันเป็นโปรโตซัวชนิดหนึ่ง

สภาพการณ์และช่วงเวลาที่มีปัญหาแนวปะการังซีด

        ปรากฏการณ์ปะการังซีดที่เกิดขึ้น เป็นบทศึกษาสำหรับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในแนวปะการังทั้งหมดในโลกนับแต่ปี 2413 อัตราความเร็วของผลกระทบให้ปะการังซีดขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ ถึงเวลาแล้วที่ผู้ติดตามห่วงใยในเรื่องนี้จะต้องเร่งช่วยกันเผลแพร่ข้อมูลและช่วยกกันรณรงค์พิทักษ์สภาพแวดล้อมนี้ไว้ แค่ช่วงปี 2522 ถึงปี 2533 แนวปะการังเกือบ 60 % แล้วที่มีปรากฏการณ์นี้ที่เกิดในช่วง 103 ปีก่อนนี้มีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

        ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีให้เห็นหลายบริเวณ ตั้งแต่ในทะเลคาริบเบียน ฟากตะวันตกของฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค มหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิคตะวันออก แปซิฟิคกลางและตะวันตก มหาสมุทรอินเดีย อ่าวอารเบียน ทะเลแดง ปรากฏการณ์มีให้เห็นอย่างชัดเจนนับแต่ปี 2523 ก่อนหน้านี้ สิ่งที่ทำให้ปะการังเสียหายมีเพียงพายุ ฤดูกาล การไหลของน้ำและกระแสขึ้น - ลง รวมทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวเท่านั้น จวบจนถึงปี 2523 สาเหตุสืบเนื่องมาจากอุณหภูมิของน้ำทะเลในไหล่ทวีปได้เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ สภาพทางภูมิศาสตร์ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ปัญหาที่เกิดขึ้นในชายฝั่งทะเลขยายเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ปรากฏการณ์ปะการังซีดแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคอย่างกว้างขวางนับแต่ปี 2523 ถึงปี 2540 ที่ปรากฏการณ์เอลนิโญ ช่วยเร่งปัญหาลามออกไป
ฝูงปลา
โลกเปลี่ยนกับแนวปะการังซีด

        ปะการังซีดเกี่ยวโยงถึงความสัมพันธ์ของปัญหาสภาพแวดล้อมในพื้นที่แย่ลง กับการแสวงหาประโยชน์ในชายฝั่งทะเล แค่ปัญหาอุณหภูมิในน้ำทะเลกับปัญหาแสงอาทิตย์ทวีความร้อนก็ยืนยันให้เห็นว่า ปัญหาการพัฒนาโลกเป็นองค์ประกอบผลักดันอย่างสูง โลกร้อนขึ้นจนกระทั่งต้องเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลเปลี่ยน ชั้นโอโซนในบรรยากาศมีรูโหว่ขยายขึ้น แสงอุลตร้าไวโอเล็ตยิ่งส่องถึงพื้นโลกรุนแรง จนในที่สุดปะการังก็ซีดตาย

        อุณหภูมิในน้ำทะเลสูงขึ้นกับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตทวีความรุนแรงผสานเป็นปัจจัยเร่งซึ่งกันและกันเป็นวงจรเร้าให้ปัญหารุนแรง เมื่อปะการังตาย ปัจจัยควบคุมปริมาณคาร์บนไดออกไซด์ก็ยิ่งน้อยลง โลกก็จะยิ่งร้อนขึ้นด้วยปัญหาเรือนกระจกของเกราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ชั้นโอโซนก็ยิ่งรั่ว เมื่อโลกร้อนขึ้น รังสีอุลตร้าไวโอเล็ตก็จะส่องทะลุสู่พื้นโลกมากขึ้นโลกก็จะยิ่งร้อนขึ้น วนเป็นวัฏจักรเสริมให้ปะการังตายเพิ่มอีก เป็นเรื่องที่น่าวิตกมาก

        หากปล่อยให้อุณหภูมิสูงขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยในน้ำทะเล ( 0.5 - 1.5 องศาเซลเซียล) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือ อุณหภูมิสูงกว่านั้น ( 3 - 4  องศาเซลเซียล) ในเพียงสองถึงสามวันเท่านั้นก็จะนำมาซึ่งปัญหาปะการังเสียหายและตายในที่สุด



ที่มา : รวบรวมจาก วารสารน้ำก๊อก ปีที่ 15 ฉบับที่ 1  ประจำเดือน มีนาคม - เมษายน 2542