ระดับความรุนแรงของพายุ
โพสเมื่อ : 19 พ.ย. 56

    วันนี้มีเกร็ดความรู้เรื่อง ระดับความรุนแรงของพายุ มาฝาก โดยการจัดระกับความรุนแรงของพายุนี้พัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยเฮอร์เบิร์ต แซฟไฟร์ วิศวกรโยธา และบ็อบ ซิมป์สัน ผู้อำนวยการศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็น 5 ระดับด้วยกัน และระดับ 5 คือระดับสูงที่สุดด้วย

ระดับความรุนแรงของพายุ เกร็ดความรู้ ระดับความรุนแรงของพายุ

 การจัดระดับเฮอร์ริเคนตามความรุนแรงของแรงลมที่ก่อให้เกิดพายุ หรือที่เราเรียกว่า “Saffir-Simpson Hurricane Scale” การ จัดระดับดังกล่าวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสียหายและอุทกภัยที่จะ เกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคนเมื่อพัดขึ้นสู่ชายฝั่ง โดยการจัดระดับนี้จะใช้กับเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและ ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ F1

ความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อยไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ F2

ความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ F3

ความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ F4

ความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง สูง แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ F5

ความเร็วลม ไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง สูง หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชาย ฝั่ง และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน

เพิ่มเติมเกร็ดความรู้ ระดับความรุนแรงของพายุ

  • พายุดีเปรสชั่นเขตร้อน (Tropical depression)

ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต หรือ 63 กม./ชม. มี ลักษณะลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งมีกำลังไม่แรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนได้ ทำให้เกิดฝนตกในประเทศได้มาก แต่ถ้ามีพายุดีเปรสชั่นมากๆ ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้

  • พายุโซนร้อน (Tropical storm) 

ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต หรือ 63 กม./ชม. ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 63 นอต หรือ 118 กม./ชม. มี กำลังแรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรงได้ รวมทั้งทำให้กิ่งไม้หักโค่น และทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ฝนที่ตกอย่างหนักทั้งวันทั้งคืนอาจทำให้เกิดน้ำป่าและแผ่นดินถล่มได้

  • ไต้ฝุ่น (Typhoon) 

ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต หรือ 118 กม./ชม. ขึ้นไป มี ความรุนแรงมากที่สุด สามารถทำให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกับพายุโซนร้อนแต่มีความรุนแรงมากกว่า อาจทำให้เสาไฟฟ้าหักโค่น เกิดไฟฟ้าช็อตหรือเพลิงไหม้ได้ ในทะเลมีคลื่นลมแรงจัดมากเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ โดยเฉพาะเรือเล็ก และอาจมีคลื่นใหญ่ซัดชายฝั่ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากจนท่วมอาคารบ้านเรือนริมทะเลได้

ส่วนการจำแนกระดับของทอร์นาโด จะยึดตาม Fujita scale ซึ่ง กำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความ เร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 – F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

  • พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ที่มาข้อมูล manager.co.th, th.wikipedia.org