
แนวโน้มยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับที่2 ปีพ.ศ.2555-2559
โพสเมื่อ : 24 ก.ค. 56
จากร่างแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่2 ปีพ.ศ.2555-2559 มีเป้าหมายหลักในการลดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น5ยุทธศาสตร์คือ 1)การพัฒนาระบบการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 2)การป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, 3)การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคี เครือข่ายและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และประชาชนในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม, 4)การ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์สุดท้ายคือการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านอนามัยสิ่งแวด ล้อม มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นฉบับที่ดำเนินการต่อจากแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมฉบับที่1 ปีพ.ศ.2551-2554 ซึ่งมีการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและทิศทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้ยุทธศาสตร์ฉบับที่2 ประสบ ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รายละเอียดของแผนไปสู่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องยังทำได้ไม่ครอบคลุม ส่งผลให้แต่ละหน่วยงานให้ความสำคัญเฉพาะภารกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และไม่ได้ขยายการดำเนินงานไปในโครงการใหม่ หรือการพัฒนาองค์ความรู้และการศึกษาวิจัยมีการดำเนินการน้อย เป็นต้น
ในการทำแผนฉบับที่2นี้ ได้ให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมไปถึงองค์กรระดับ ท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักมีแนวทางที่ชัดเจนในการแปลงแผนไปสู่การ ปฏิบัติไม่ว่าจะเป็น 1)การสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับภาคีการพัฒนา โดยเน้นการประชาสัมพันธ์และการมีส่วมร่วมของทุกภาคส่วน 2)เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมไปจนถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3)บูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผน และ4)เสิ รมสร้างความเข้มแข็งกลไกที่ปรึกษาภาคประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตอบสนองความต้องการและประโยชน์โดยรวมของเอกชน อย่างแท้จริง
ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันมีกรอบนโยบายที่สนับสนุนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่2 มีทั้งการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก และนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4ปี มีทั้งนโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น ช่วยในการผลักดันแผนให้ดำเนินการต่อไปได้
นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนาระดับชาติและระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงกับแนวทางแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมฉบับที่2 เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 ซึ่งมียุทธศาสตร์การพัฒนาคนไทยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข, การใช้เทคโนโลยีการผลิตการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ เพื่อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และกฎบัตรความร่วมมือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก-กรอบ ความร่วมมือ ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองสุขภาพประชาชนกลุ่มต่างๆ เป็นต้น
โดย เฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาอุทกภัยทั่วประเทศอยู่ตอนนี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันฟื้นฟูทั้งในเรื่องปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ หรือการฟื้นฟูสภาพจิตใจของประชาชน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งผลักดันให้ยุทธศาสตร์ถูกนำไปใช้และปฏิบัติ ยิ่งขึ้น
