ปัจุบันมีแนวคิด วิธีการต่าง ๆ ในการจัด
การระบบการผลิตทางการเกษตรเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารและสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัยซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ
โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
ได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ของ กรมพัฒนาที่ดิน คือ
สารเร่ง พด. 1
ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพช่วยเร่งการย่อยสลายเศษพืชเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น
มาใช้ในการพัฒนากระบวนการหมักใบไม้ใบหญ้า
วัชพืชซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในการเตรียมแปลงปลูกพืชผักของนักเรียน
เป็นการส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์และเป็นการบูรณาการส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดในโรงเรียน
โดยมีแนวคิดหลักต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้จักเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้ง่าย
ไม่ยุ่งยาก
เห็นผลเร็วซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนนำไปเชื่อมโยงประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันร่วมกับครอบครัวในลำดับต่อไป
วิธีการหมักใบไม้ใบหญ้าดังกล่าวข้างต้น มิใช่กระบวนการหมักเต็มรูปแบบตามตำราวิชาการทุกกระ -เบียดนิ้ว เพียงแต่เป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในชีวิตจริงของเด็กที่จะสานความรู้จากโรงเรียนสู่บ้าน ซึ่งในบางครั้งจำเป็นต้องเลือกขั้นตอนกระบวนการผลิตมีความยุ่งยากน้อย ไม่เพิ่มภาระต้นทุน แต่ส่งผลในการพัฒนาเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม เห็นผลเร็วซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแปรเปลี่ยนจิตสำนึกให้นักเรียนเห็นวิธีการที่เป็นรูปธรรม และนำไปสู่การเชื่อมโยงประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันร่วมกับครอบครัวได้
ความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการหมักใบไม้ใบหญ้าในแปลงเกษตร ของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการและโอกาสที่ได้รับจากทางสถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท กิ่งอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนเทคโนโลยีทันสมัยจากภาครัฐซึ่งนำโดยผู้ใหญ่สู่ภาคการศึกษาของเด็กเยาวชนในวัยเรียน เป็นเสมือนไม้ขีดไฟและเชื้อเพลิงที่ช่วยจุดประกายให้เด็ก ๆ ได้แสงสว่างที่สร้างสรรค์ ได้ลงมือช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวในชีวิตจริงให้สะอาดได้ด้วยวิธีการที่ไม่ยากและเหมาะสมตามธรรมชาติวิชาด้านการเกษตร
ที่มา: วารสารกสิกร ปีที่ 80 ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2550