สาเหตุและแนวโน้มของปัญหา
4.1 ปัญหาโลกร้อนและการทำลายชั้นโอโซน
การ ทำลายชั้นโอโซนของบรรยากาศ หมายถึง การที่ก๊าซส่วนน้อย ได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจน มีเทน และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศและไปทำลายชั้นโอโซนจน เป็นช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตส่องถึงพื้นโลก ปกติโอโซนเป็นก๊าซที่มีปริมาณต่างกันตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 60 กิโลเมตร แต่ในระดับความสูงมีประโยชน์สำคัญ 2 ประการ คือ ช่วยกรองรังสี UV ไว้ร้อยละ 70 – 90 และทำหน้าที่เป็นก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิของโลก
ปรากฏการณ์เอลนีโญ (Ei Nino Phenomena)
เอลนีโญ (El Niño)
เป็น ชื่อของกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งทะเลของประเทศเปรูลงไปทางใต้ทุกๆ 2 – 3 ปี กระแสน้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนาน ประมาณ 2 – 3 เดือน มีผลทำให้เกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรง ในประเทศเปรูและเอกวาดอร์
ปรากฏการณ์เอลนีโญมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” หรือเรียกอย่างสั้นๆ ว่า ENSO ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ โดยกระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซีย และออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปรวมกันบริเวณชายฝั่ง ประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย
อิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนิโญ
ปรากฏการณ์ ENSO ไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรงใน ประเทศไทย ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นเป็นผลจากปรากฏการณ์จริงแต่ปริมาณน้ำฝนไม่แตกต่าง จากปกติมากนักอาจเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลงและการกระจายของฝนลดลงกว่าสภาพ ปกติ
ลานีญา
ความหมายของลานีญา ลา นีญา มี สภาวะตรงข้ามเอลนีโญ ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี
การเกิดลานีญา คือ ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรง มากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมาก ยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย มีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้น และกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำ เย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำ (upwelling) จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติ
ผลกระทบของลานีญา
ปรากฏ การณ์ลานีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง และ แอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติ บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการ เกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาจะแห้งแล้งกว่าปกติ
ผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิ ผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ ในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณ ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็น กว่าปกติ ลานีญามีผลกระทบต่อพายุหมุนเขตร้อน โดยพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกและอ่าวเม็กซิโกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสหรัฐอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียนมีโอกาสประสบกับพายุเฮอริเคนมากขึ้น
ผลกระทบของลานีญาต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย ใน ปีลานีญาปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่าลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยโดยทุกภาคของ ประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู
โลกร้อนหรือปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเกิดจากการที่ก๊าซ CO2 ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของสิ่งต่างๆ สาร CFC ก๊าซ CH4 ซึ่งได้มาจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนและก๊าซ N2O
ก๊าซ 3 ชนิดจาก 4 ชนิดที่เป็นสาเหตุของปัญหาปฏิกิริยาเรือนกระจก คือ CO2 , N2O และ ก๊าซมีเทน
(CH4)ปล่อย มาจากธรรมชาติและจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การใช้ยานพาหนะ การผลิตไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่CFC ถูกปลดปล่อยมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งหมด
นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ก๊าซ CO2 ในโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2030 และ 2050 ถ้าการใช้เชื้อเพลิงยังคงสภาพเช่นปัจจุบันและประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาจะ แห้งแล้งผิดปกติและจะมีผลทำให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลง
ก๊าซ | มีส่วนสนับสนุนให้โลกร้อน | แหล่งที่มาของก๊าซ |
คาร์บอนไดออกไซด์ CO2(เชื้อเพลิง จากถ่านหิน น้ำมัน)(เชื้อเพลิงจากสิ่งมีชีวิต) | 574413 | ถ่านหิน ,น้ำมันก๊าซธรรมชาติการทำลายป่า |
คลอโรฟลูโอโรคาร์บอนCFC | 25 | โฟม กระป๋องสเปรย์ เครื่องทำความเย็น ตัวทำละลาย |
มีเทน CH4 | 12 | พื้นที่น้ำท่วม นาข้าว เชื้อเพลิงจากซากพืชและสัตว์ ปศุสัตว์ |
ไนตรัสออกไซค์ N2O | 6 | เชื้อเพลิงจากพืช สัตว์ ปุ๋ยการทำลายป่า |
(ที่มา : Chiras,1994)
การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจกหลักที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกที่ รุนแรงระยะยาว การใช้ไม้ฟืนจากป่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไนตรัสออกไซด์ การผลิตแก๊สธรรมชาติได้มีส่วนในการปล่อยแก๊สมีเทนออกสู่บรรยากาศ
เนื่องจากประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของโลก จึงต้องรายงานบัญชีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและมาตรการควบคุมปริมาณแก๊ส เรือนกระจก
ผลกระทบจากปรากฏการณ์เรือนกระจก
1. ผลกระทบต่อภูมิอากาศ บรรยากาศแถบขั้วโลกร้อนขึ้น ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่บริเวณ
เส้น ศูนย์สูตรกับขั้วโลกย่อมลดน้อยลง จะส่งผลต่อภูมิอากาศในระดับโลก เช่น ลมและฝนเป็นอย่างมาก ภาวะความกดดันอากาศต่ำอาจเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีลมมรสุมพัดแรง และเลยขึ้นทางเหนือ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในบางพื้นที่ แต่ในส่วนที่ได้รับน้ำฝนมากเกินไปก็จะเกิดภัยน้ำท่วมขึ้นได้ในพื้นที่ซึ่งมี ฝนตกหนักและหิมะละลายอาจจะเกิดปัญหาน้ำเซาะดินพังทลายลง ทำให้สูญเสียความสมบูรณ์ของหน้าดินไปมากขึ้นเพิ่มความขุ่นและอัตราการตก ตะกอนตามเส้นทางคมนาคมทางน้ำแนวปะการังและป่าชายเลนมากขึ้นอีก
2. ผลกระทบต่อแหล่งน้ำเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงแล้ว ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำต่างๆ เองด้วย กล่าวคือ อาจเกิดความแห้งแล้งของแหล่งน้ำในบางพื้นที่ และเกิดแหล่งน้ำใหม่ๆในบางพื้นที่ การที่ปริมาณ CO2 เพิ่มขึ้นในบรรยากาศ ย่อมเป็นการเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงและความเจริญเติบโตของพืชให้สูงขึ้น ซึ่งเท่ากับเพิ่มความต้องการน้ำของพืชให้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงอาจทำให้เกิดภาวะดินแห้งและปัญหาในการจัดสรรน้ำชลประทานให้เพียงพอแก่ พื้นที่ต่าง ๆ ขึ้นได้
3. ผลกระทบต่อแหล่งพลังงาน การขุดเจาะน้ำมันในทะเลและมหาสมุทรขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะความ ปรวนแปรของพายุฝนต่างๆในทางที่รุนแรงยิ่งขึ้น ย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการขุดค้น
4. ผลกระทบต่อเกษตรกรรม CO2 จะเร่งรัดการเจริญเติบโตของพืชและอัตราการใช้น้ำด้วยในเวลาเดียวกัน จึงน่าจะเป็นผลดีต่อการเกษตร เพราะพืชผลจะเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่กว่าปกติ แต่อาจจะมีสารอาหารน้อยลง ทำให้ต้องบริโภคปริมาณมากขึ้น แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศตลอดจนการเซาะดินพังทลายเป็นผลเสียที่ สำคัญซึ่งอาจหักล้างผลประโยชน์ที่ได้รับเสียสิ้น ทั้งนี้เพราะพืชไม่อาจปรับตัวได้ทัน
5. ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเล การขยายตัวของน้ำทะเลและการที่น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายลงมาระดับน้ำทะเล ทั่วโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นและทำให้เมืองหรือประเทศที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ไม่มากนักได้รับความเสียหายซึ่งอาจจะต้องจมหายไปในทะเล
6. ผลกระทบต่อมนุษย์ จากอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น อากาศที่ร้อนจัดมีความชื้นสูงเป็นสิ่งที่บั่นทอนสมรรถภาพในการทำงานของ มนุษย์ มีความกดดันต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ง่ายต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ปัญหาเชื้อเพลิงและน้ำบริโภคที่อาจลดปริมาณลง
แนวทางแก้ไขปัญหาของอุณหภูมิโลกร้อน
1. ลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 , CH4 ซีเอฟซีและ N2O ให้ได้โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า การนำกลับมาประยุกต์ใช้ใหม่ การกลับคืนมาใช้ใหม่และการควบคุมประชากรของมนุษย์
2. ความร่วมมือของประเทศต่างๆในระดับโลก พยายามจะให้เกิดความร่วมมือกันในแก้ไขปัญหาโลกร้อนดังจะเห็นได้ว่า มีการทำ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จะนำไปสู่การแก้ไข ปัญหาโลกร้อน เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อ 16 ก.พ. 2548หลังจากที่มีการเจรจายืดเยื้อมานาน 7 ปี โดย 141 ประเทศทั่วโลกได้ลงนามในสัตยาบันในการร่วมมือช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก 6 ชนิด โดยเฉพาะ 34 ประเทศอุตสาหกรรม ที่ต้องลดการปล่อยแก๊สดังกล่าวลงราว 5.2% ก่อนปี 2555 ด้านสหรัฐอเมริกา ผู้ปล่อยแก๊สเรือนกระจกรายใหญ่สุดของโลก รวมถึงออสเตรเลีย ปฏิเสธการเข้าร่วมพิธีสารเกียวโต
4.2 ปัญหาพลังงาน
ปัญหาอันดับแรกในเรื่องของพลังงานคือ แหล่งพลังงานปฐมภูมิจากธรรมชาติกำลังจะหมดไปอย่างรวดเร็ว The international Energy Agency กล่าวว่า โลกของเราต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 60% จากปี 2002 ถึง 2030 และเชื้อเพลิงจาก fossil ที่มีอยู่กำลังจะถูกใช้หมดไป เราใช้น้ำมันกว่า 90%มีการประมาณการว่าปริมาณน้ำมัน และเชื้อเพลิงที่มีอยู่สามารถใช้งานต่อไปได้อีกเพียงแค่ 40 ปีเท่านั้น ก๊าซธรรมชาติจึงเป็นแหล่งพลังงานเหมาะสมที่ถูกเลือกมาใช้ทดแทนน้ำมัน
แหล่งพลังงานทดแทน
1. พลังงานจากน้ำ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผลกระทบที่สำคัญของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ต่อ
สิ่ง แวดล้อม ได้แก่ การเสียป่าไม้และการโยกย้ายประชากร ประชากรจำนวนมากจึงไม่เห็นด้วย ถึงแม้จะมีผลพลอยได้หลายประการ เช่น การชลประทาน การประมง
2. ชีวมวล ประกอบด้วย ไม้ ชานอ้อย และแกลบ ชีวมวลที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต ชีวมวลที่เหลือจากเกษตรกรรม เช่น ฟาง ใบอ้อยและยอดอ้อย ต้นและซังข้าวโพด ต้นถั่วเหลือง ฯลฯ ซึ่งมีปริมาณกว่า 50 ล้านตันต่อปี อาจนำมาผลิตไฟฟ้าได้หลายพันเมกะวัตต์ ถ้าเทคโนโลยีในการเก็บชีวมวลเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และราคาซื้อไฟฟ้ากลับของรัฐมีความเหมาะสมขึ้น
น้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์ม อาจนำมาใช้แทนน้ำมันดีเซลบางส่วนในเครื่องยนต์เรือและเครื่องยนต์ทาง เกษตรกรรมได้ การวิจัยและพัฒนาจะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์การพัฒนา เชื้อเพลิงเหลวทั้งสองประเภทเพื่อให้กับยานยนต์ ลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและช่วยเพิ่มรายได้ของภาคเกษตรกรรม
3. พลังงานแสงอาทิตย์และลม ปัจจุบันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้รับการพัฒนามาใช้ผลิตน้ำร้อนสำหรับที่พัก อาศัยโรงพยาบาลและโรงแรม อุตสาหกรรมและการอบแห่งผลิตผลทางเกษตรจนนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ได้
4. พลังงานนิวเคลียร์ อุปสรรคสำคัญของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ได้แก่ ความยอมรับของประชาชน ความพร้อมและวินัยของบุคลากร การจัดการกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงและการลงทุนสูง นักสิ่งแวดล้อมหลายคนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเทคโนโลยีฟิชชั่น (fission) ที่นำมาใช้สร้างพลังงานนิวเคลียร์ กังวลถึงรังสีตกค้างที่เกิดขึ้น และความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (fusion)
พลังงานทดแทนอื่นๆ ประ เทศไอซ์แลนด์ตั้งอยู่ท่ามกลางความหนาวเย็นโดยไม่มีน้ำมัน ก๊าซ หรือถ่านหินเป็นของตนเองจึงหาแหล่งพลังงานใหม่ทำให้เกิดโครงการผันแปร พลังงานน้ำพุร้อนมาเป็นความร้อนแก่บ้านเรือน ไอซ์แลนด์จะมีรถเมล์ที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซไฮโดรเจนพร้อมกับการวางแผนสร้าง โรงงานผลิตไฮโดรเจนกับเรือจับปลา การใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานของไอซ์แลนด์ นอกจากจะไม่เกิดมลพิษแล้ว ยังมีอย่างไม่หมดสิ้นอีกด้วย เพราะไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบของน้ำ (สูตรเคมีของน้ำคือ H2O) เรียกได้ว่าเห็นน้ำที่ไหนก็หมายถึงว่ามีพลังงานจากไฮโดรเจนเมื่อนั้น อนาคตอันใกล้ต้นทุนจากพลังงานไฮโดรเจนจะต่ำพอที่จะสู้กับพลังงานจากก๊าซ น้ำมัน และถ่านหินได้
สำหรับประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทำการผลิตก๊าซโซฮอลล์จำหน่าย
4.3 ปัญหาการนำสารเคมีมาใช้ในการเกษตร
สาร เคมีที่ใช้ในการเกษตรส่วนใหญ่ จะเป็นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดศัตรูพืช จะมีฤทธิ์ทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่มีประโยชน์หรือเป็นโทษสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สารกำจัดแมลง กลุ่มสารรมควันพิษ เช่นมาลาไทออน คาร์บาริล
สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง
1. ทางจมูก โดยการหายใจเอาไปของสารพิษ ถ้ามีฤทธิ์กัดกร่อนจะทำให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบ หรือซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตได้
2. ทางปาก อาจเข้าไปด้วยความประมาท ใช้มือที่เปื้อนสารเคมีหยิบอาหารเข้าปากหรือกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างอยู่
3. ทางผิวหนัง เกิดจากการสัมผัสจับต้องสารพิษ ซึ่งสารบางชนิดสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าไปได้ เมื่อ ร่างกายได้รับสารพิษ ถึงแม้ทีละน้อยแต่ถ้าได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะเกิดการสะสมในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ไตพิการ สมองพิการ จนถึงเป็นมะเร็งหรือทำให้เกิดความปิดปกติทางพันธุกรรมได้
4.4 ปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
สารหนู
มี การใช้สารหนูในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการแพทย์ โดยเฉพาะใช้ในด้านเกษตรกรรมเป็นยาฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืช โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารหนูก็ได้แก่ โรงงานย้อมผ้า โรงงานทำสี ทำดอกไม้เพลิง โรงงานพิมพ์ดอกผ้า โรงงานผลิตแก้ว โรงงงานผสมตะกั่วกับสารหนู เพื่อให้เนื้อตะกั่วแข็งขึ้น โรงงานทำผงซักฟอก ผู้สูดหายใจเอาก๊าซซึ่งมีส่วนประกอบของสารหนูเข้าไปจะมีอาการ คือ
อาการทางเดินหายใจ ทำ ให้ระคายเคืองต่อเนื้อเยี่อเมื่อสูดหายใจเข้าไปบ่อยๆนานๆ ทำให้เยื่อบุกั้นจมูกทะลุ ติดต่อกันได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด น้ำมูกแห้งคอแห้ง เสียงแหบ เกิดมะเร็งที่ปอด
อาการทางผิวหนัง ฝุ่น ปลิวถูกผิวหนังจะไปรวมอยู่ที่รอยพับที่ชื้นแฉะของผิวหนัง เช่น รอบๆ จมูก รอบๆ ปาก บริเวณรักแร้และขาหนีบ ทำให้เกิดระคายเคือง อักเสบบวมแดงเป็นตุ่มแข็งใสพองหรือผิวหนังแข็งด้าน หรือเป็นหูดซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งที่ผิวหนังได้
อาการทางตา จะเกิดอาการตาแดง ตาอักเสบ เพราะถูกรบกวนจนกระทั่งเส้นโลหิตฝอยแตก
อาการ ทางระบบประสาท เนื่องจากสารหนูเข้าไปสู่ระบบการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งจะมีผลต่อน้ำย่อยที่ช่วยในระบบเผาผลาญของร่างกาย ทำให้การทำงานเสียไป ปลายประสาทอักเสบแขนขาชาและเป็นอัมพาตในที่สุด
อาการทางสมอง ทำ ให้เกิดกระสับกระส่าย ความจำเสื่อม เกิดอาการทางตับ จะทำลายตับได้ ในรายที่กินสารประกอบของสารหนูเข้าไปเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการตับแข็ง ตับอักเสบ
โครเมี่ยม (Chromium)
สาร โครเมี่ยมนำมาผสมกับโลหะทำให้เกิดความแข็งแรงมีความเหนียวทนทานทำให้โลหะไม่ เป็นสนิมทนต่อการผุกร่อน โครเมี่ยมบริสุทธิ์ใช้มากในอุตสาหกรรมชุบโลหะด้วยไฟฟ้า สารประกอบของโครเมต (Chromate) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาอุตสาหกรรมฟอกหนัง การย้อมสีขนสัตว์
อันตรายของโครเมี่ยม
1. แผลที่เกิดจากโครเมี่ยม (Chrome ulcers) เกิดจากการสะสมของฝุ่นละอองของ โครเมี่ยม ซึ่งโดยมากจะเริ่มที่รอยถลอกของผิวหนัง พบมากที่สุดที่โคนเล็บมือ ตามข้อนิ้วมือหรือหลังเท้ามีลักษณะเป็นแผลวงกลม ขอบค่อนข้างบาง บุ๋มลึกลงไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1 เซนติเมตร หรือเล็กกว่า มองดูคล้ายถูกตะปูเจาะ ไม่เจ็บปวดแต่คันมากในเวลากลางคืน เกิดการติดเชื้อลุกลามไปถึงข้อต่อใกล้เคียงอาจต้องตัดนิ้วทิ้ง ฝุ่นของเกลือโครเมี่ยมหรือควันของกรดโครมิค อาจทำให้เกิดแผลขึ้นได้เช่นเดียวกัน
2. ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) บริเวณมือ แขน ใบหน้า และหน้าอก ผิวหนัง บริเวณนี้จะเกิดอักเสบขึ้น หลังจากคนงานทำงานมาแล้วประมาณ 6 เดือน ในรายที่เป็นมากจะมีสีแดงเข้มและบวมบริเวณที่อักเสบจะ เจ็บ
แสบคันมาก
3. ผนังกั้นในจมูกถูกเจาะทะลุ เมื่อสูดหายใจเอาควันของกรด โครมิคหรือฝุ่นของโครเมี่ยมเป็นประจำ อาการที่เกิดขึ้น คือ ลิ้นและฟันจะเปลี่ยนเป็นสีออกเหลืองๆถ้าเป็นมากจะทำให้ผิวหนังกั้นในจมูก ถูกทำลายจนเป็นรูทะลุ ซึ่งการทะลุของแผ่นกั้นจมูกนี้ จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่จะรู้ตัวเมื่อมีเสียงอู้อี้หรือดั้งจมูกแบนลงแล้วเท่านั้น
4. มะเร็งของปอดมักจะเกิดกับคนที่สูดหายใจเอาโครเมี่ยมเข้าไปทุกวันติดต่อกัน เป็นเวลานานๆ เป็นอันตรายแก่ชีวิตเพราะไม่มียารักษาให้หายได้
4.5 ปัญหาความแห้งแล้ง
สภาวะ การขาดแคลนน้ำในเมืองสำคัญๆหลายแห่ง ซึ่งสภาวะการขาดแคลนน้ำมีผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรงโดยเฉพาะประเทศที่กำลัง พัฒนานอกจากใช้ในการบริโภคแล้วยังใช้น้ำในการเกษตร โครงการศึกษาประเมินสภาวะน้ำทั่วโลก (WWAP) ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำจำนวน 23 องค์กรแสวงหาแนวทางการดำเนินงานที่ยั่งยืนสำหรับปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาของ มนุษย์ โครงการดังกล่าวซึ่งอยู่ที่ยูเนสโกได้ตอบสนองต่อความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นใน การประชุมเกี่ยวกับน้ำของโลกที่กรุงเฮกในปี 2000 และนำข้อเรียกร้องที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลระดับรัฐมนตรีที่ลงนามในเวลาต่อมา มาเป็นพื้นฐานการดำเนินงาน
สาเหตุที่ทำให้น้ำขาดแคลน
1. ปริมาณน้ำฝนมีน้อย เห็นได้จากปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆทั่วประเทศ มีระดับน้ำไม่เต็มความจุของน้ำที่เขื่อนจะเก็บกักไว้ได้ หรือบริเวณแหล่งต้นน้ำลำธารก็มีปริมาณน้ำน้อยที่เกิดจากปริมาณป่าไม้ลดลง เนื่องและจากการที่อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น
2. การเพิ่มปริมาณการใช้เนื่องจากมีการขยายพื้นที่ทำการเกษตรและการขยายตัวทางอุตสาหกรรม
3. การเพิ่มสารพิษในน้ำ ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการอุปโภค บริโภคได้โดยตรง ถ้านำมาใช้ต้องผ่านกรรมวิธีทำให้บริสุทธิ์เสียก่อนจนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน การปนสารพิษเกิดจากการทิ้งขยะ จากน้ำเสียของบ้านเรือนลงสู่แหล่งน้ำและการทิ้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และสารพิษจากการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำ ตะกอนเกลือก็ทำให้แหล่งน้ำนั้นเสียได้
4. การใช้น้ำที่ฟุ่มเฟื่อย เช่นการใช้น้ำเพื่อดำเนินธุรกิจ โรงแรม สถานบริการต่างเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการใช้น้ำตามครัวเรือนที่ไม่ประหยัด
เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ,กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม.
กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2545.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ,กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.หนังสืออ่านเพิ่มเติมด้าน
สิ่งแวดล้อมระดับมัธยมศึกษาสารพิษทางการเกษตร. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม, 2545.
กนก จันทอง. สิ่งแวดล้อมศึกษา. ปัตตนี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2541.
เกษตรศาสตร์,มหาวิทยาลัย . สิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีและชีวิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.
ประเวศ วสีและคณะ.ความหมากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาน
บันชุมชน ท้องถิ่นพัฒนา, 2537.
มูลนิธิโลกสีเขียว.น้ำ,กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟจำกัด, 2536.
ราตรี ภารา. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิพัฒน์, 2538.
วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์และคณะ. มลภาวะอากาศ .กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากอดีตสู่อนาคต. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,2543.
อลงกรณ์ พลบุตร ประธานโครงการเอธานอล กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 56 ฉบับที่ 17282 วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2548 เรื่องพิธีสารที่เกียวโต
เว็บไซต์
http://www.bdmthai.com/ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
http:// www.environet.in.th/evdb/info/air/airos.html