
วิกฤตน้ำของโลก
ท่าน เคยคิดไหมว่า ขณะที่ท่านกำลังล้างรถยนต์ของท่านอย่างพิถีพิถันด้วยน้ำประปาอยู่นั้น ยังมีเพื่อนร่วมโลกของท่านประมาณ 1,100 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา ขาดแคลนแม้แต่น้ำประปาที่จะใช้ดื่ม แต่ละปีจะมีประชากรโลกราว 2 ล้านคน เสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด และประชากรโลกอีกไม่น้อยกว่า 2,400 ล้านคนทั่วโลก ขาดการสุขาภิบาลน้ำที่ดี หรือขาดแคลนน้ำเพื่อบริโภคอุปโภคที่เพียงพอแก่ความจำเป็น
พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ปัญหา ความขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการบริโภคอุปโภคของประชากรโลก จึงเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมโลกได้ให้ความสำคัญเป็นอย่าง ยิ่ง และถือว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตของมนุษยชาติแห่งคริสต์ ศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว ในการประชุมสุดยอดระดับโลก ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เมืองโจฮันเนสเบิกร์กครั้งล่าสุดนี้ ก็ได้มีการหยิบยกเรื่องน้ำมาเป็นประเด็นหนึ่งของปัญหาการจัดการทรัพยากร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะนับตั้งแต่การประชุมสุดยอดเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร แม้จะได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ แต่ปัญหาน้ำกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งแสดงว่าประเทศต่างๆ ที่ยังไม่เดือดร้อนเรื่องน้ำต่างก็มองข้ามปัญหาไป
จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาน้ำที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่ ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญของโลกราวครึ่งหนึ่งลดลง น้ำจากแม่น้ำสำคัญ 7 สายมีปริมาณลดลงจนไม่ได้ไหลลงทะเลอีกแล้ว ทะเลสาบราว 500 แห่งของจีนหายไปเพราะการจัดการชลประทานเพื่อการเพาะปลูกขนาดใหญ่ของจีน เนื่องจากในจีนใช้น้ำในการเพาะปลูกมาก เช่น ผลผลิตข้าวสาลี 1 ตันต้องใช้น้ำถึง 1 พันตัน
นอก จากนี้ธนาคารโลกยังประมาณการว่าในราวปี ค.ศ. 2025 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรใน 48 ประเทศทั่วโลกจำนวนราว 1,400 ล้านคนจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 1995 ที่มีประชากรเพียง 436 ล้านคนใน 29 ประเทศเท่านั้นที่ขาดแคลนน้ำ และผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลก ยังได้ประมาณการอีกว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ครึ่งหนึ่งของประชากรโลก จะประสบภาวะขาดแคลนน้ำได้ หากยังมีการใช้น้ำที่ฟุ่มเฟือยในปัจจุบัน
เมื่อ พิจารณาสภาพทางภูมิสาสตร์ของน้ำในโลกแม้ว่าโลกจะประกอบไปด้วยน้ำถึง 3 ใน 4 ส่วน แต่มีน้ำราวร้อยละ 2.5 เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด ซึ่งมนุษย์สามารถใช้น้ำได้โดยตรง และน้ำจืดซึ่งมีเพียงร้อยละ 2.5 นี้ก็เป็นน้ำที่มีอยู่ในรูปทุ่งของน้ำแข็งและธารน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกถึง 2 ใน 3 นอกจากนี้ยังมีน้ำที่เหลือส่วนมากจะเป้นฝนที่ตกผิดฤดูกาล ผิดสถานที่ หรืออยู่ในที่ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จริงๆ มีราวร้อยละ 0.08 ของน้ำทั้งหมดในโลกทั้งหมดเท่านั้น โดยที่ร้อยละ 17 ของจำนวนนี้ เป้นน้ำที่ใช้เพื่อการเพาะปลูกพืชอาหารเลี้ยงประชากรโลก
ใน ขณะที่ปริมาณน้ำในโลก ซึ่งมนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงๆมีเพียงไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำทั้งหมดในโลกนี้ปรากฎว่าประชากรในโลกปัจจุบันต่างก็ใช้น้ำในการ ในการอุปโภคบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยไม่ระมัดระวัง ซึ่งจากรูปแบบการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือยนี้เองที่นักวิทยาสาสตร์สิ่งแวดล้อม คาดว่าปริมาณการใช้น้ำของประชากรในโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 20 ปี ข้างหน้า แห่งน้ำสำคัญของโลกหลายแห่งกำลังประสบปัญหา ได้แก่ แม่น้ำเหลืองของจีน มีมลพิษถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพลุ่มน้ำคงคาของอินเดีย ซึ่งหล่อเลี้ยงชาวอินเดีย ก็มีความเป็นพิษถึงระดับที่ต้องรีบแก้ไข แม่น้ำอมูทายา และเซียร์ทายา ( Amu Draya & Syr Draya ) ในที่ราบลุ่มของชายฝั่งทะเลอาราล ซึ่งเคยเป้นแหล่งน้ำที่สำคัญเพื่อการเกาตรของเอเชียใต้บางส่วนแห้งขอด
นอก จากนี้ แม่น้ำที่สำคัญที่เป้นปัจจัยหล่อเลี้ยงแหล่งผลิตอาหารของโลกอื่นๆ เช่น แม่น้ำสโนวี แม่น้ำนอร์เรย์ และแม่น้ำดาร์ลิงที่ออสเตรีย และแม่น้ำแซมเบซีในแอฟริกาใต้ แม่น้ำไนเจอร์ และแม่น้ำโวลตาในแอฟริกาตะวันตก แม้น้ำในโรนในฝรั่งเศส แม่น้ำโค,ราโดในสหรัฐอเมริกาแม่น้ำไนส์ที่อียิปต์ และแม่น้ำมานัฟกัตที่ตุรกีล้วนเป็นแหล่งน้ำซึ่งกำลังมีปัญหาทั้งด้านมลพิษ อันเกิดจากอุตสาหกรรมและภาวะแห้งขอดในฤดูแล้ง
หากพิจารณาถึงสาเหตุแห่งปัญหาวิกฤติน้ำของโลก พบวาสสิ่งสำคัญมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ
1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก
เมื่อ ประชากรโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการทั้งที่เป็นน้ำดื่ม น้ำอุปโภค และน้ำซึ่งต้องใช้ในการผลิตทั้งการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ เพื่อสนองความต้องการด้านปัจจัยสี่ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆของประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
2. ความต้องการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ทำให้ต้องใช้ ทรัพยากรน้ำมากขึ้น ในการผลิตสินสินค้าและบริการ สนองความต้องการที่จะขยายตัวตามระดับของการพัฒนา เช่น การใช้น้ำในโรงแรมขนาดใหญ่ สานากอล์ฟ และบริการล้างรถยนต์ เป็นต้น จะสิ้นเปลืองมากกว่าในการเพาะปลูกเมื่อเทียบในด้านประโยชน์ที่สังคมได้รับ
3. มลพิษทางน้ำเป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรสมัยใหม่
ที่ใช้ทั้งยา ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช นอกจากนี้ ฝนกรดเป็นมลพิษร้ายแรงที่ทำลายระบบนิเวศน์
4. การจัดการทรัพยากรน้ำที่ไม่มีคุณภาพ
เช่น ระบบชลประทานไม่เหมาะสม การใช้น้ำโดยขาดจิตสำนึกรับผิดชอบ มองไม่เห็นคุณค่าของน้ำ และไม่คำนึงถึงปัญหาขาดแคลนน้ำ ที่อาจเกิดขึ้นกับคนรุ่นหลัง อีกทั้งภาครัฐเองก็ไม่มีวิธีการจัดสรรการใช้น้ำอย่างเหมาะสม
เพราะฉะนั้น แม้ขณะนี้เมืองไทยยังไม่ถึงขั้นขาดน้ำ แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่ผู้ใช้น้ำ และรัฐในฐานะผู้จัดการน้ำ ควรจะได้ริเริ่มมาตรการการประหยัดน้ำก่อนที่จะไม่มีน้ำให้ประหยัด
ข้อมูลได้จาก http://www.dgr.go.th/water2006/technique35.html
