อาหารกว่าครึ่งบนโลกจบที่ถังขยะอย่างสูญเปล่า
โพสเมื่อ : 20 ก.พ. 56

อาหารกว่าครึ่งบนโลกจบที่ถังขยะอย่างสูญเปล่า


ภาพ : Institution of Mechanical Engineers

ผล การศึกษาจาก Institution of Mechanical Engineers สหราชอาณาจักร ระบุว่า อาหารที่ผลิตขึ้นทั้งหมดบนโลกสูญเสียและกลายเป็นขยะถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่เคยตกถึงท้องมนุษย์เลย

แต่ละปี ปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆข้อมูลปี 1974 เราสูญเสียอาหารที่ยังกินได้ไปประมาณ 900 แคลอรี่ต่อคน ต่อวัน
แต่ทุกวันนี้ เราเสียอาหารไปถึง 1,400 แคลอรี่ต่อคนต่อวัน อาหาร เหล่านี้ คิดเป็นพลังงานได้ 150,000,000,000,000 (หนึ่งแสนห้าหมื่นล้านล้าน) แคลอรี่ ที่สูญเสียไปแต่ละปี (เทียบเท่าพลังงานของคนทั้งโลก คือ 7พันล้านคน วิ่งด้วยความเร็ว 5 กม./ชม. เป็นเวลา 3 วันเต็ม)

อาหารที่ถูกทิ้งขว้างไปในสหรัฐอเมริกาแต่ละปี
- สามารถเป็นอาหารของคนได้ 2 พันล้านคน
- ทำให้สูญเสีย ¼ ของน้ำสะอาดทั้งหมดในประเทศ
- สูญเสียน้ำมันไปถึง 300 ล้านบาร์เรล

 

 

ทั้ง นี้ ในประเทศกำลังพัฒนา การสูญเสียอาหารมักเกิดในขั้นตอนระหว่างทางจากผู้ผลิตมาจนมาถึงผู้บริโภค เช่น การเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ การขนส่งและระบบสาธารณูปโภคที่ไม่ดี การจัดเก็บทำได้ไม่ดี เช่น ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มีผลผลิตข้าวที่สูญเสียไประหว่างทางการเพาะปลูกจนไปถึงโต๊ะอาการ 37-80 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ใน ประเทศพัฒนาแล้ว การผลิต การขนส่ง และการจัดเก็บ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่วัฒนธรรมการบริโภคสมัยใหม่ ทำให้อาหารถูกทิ้งไปในขั้นตอนค้าปลีก เช่น ร้านค้าปลีกไม่รับผลผลิตจากเกษตรกรด้วยเหตุผลว่าขนาด รูปร่างไม่ได้มาตรฐาน หรือการทำการตลาดลดราคา ทำให้ผู้บริโภคเน้นซื้อปริมาณมาก แต่สุดท้ายก็เหลือทิ้ง

ปัญหา นี้เป็นที่กังวลของหลายหน่วยงานทั่วโลก เพราะขยะอาหารเหล่านั้น แลกมาด้วยทรัพยากรอันมีค่ามากมาย ตั้งแต่ผืนดิน น้ำสะอาด น้ำมัน และแรงงานมนุษย์

  ในแต่ละปี ทั่วโลกจะมีอาหารที่ถูกทิ้ง (Food waste) ถึง 1,300 ล้านตัน (หรือราว 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตขึ้นมาทีเดียว) โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษมีอาหารที่ถูกทิ้งถึง 17 ล้านตัน ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯที่ทิ้งอาหาร 34 ล้านตัน ในขณะที่ประชากรของโลกกว่า 800 ล้านคนกลับประสบภาวะการขาดแคลนอาหาร


      หลายประเทศจึงมีนโยบายลดอาหารที่ถูกทิ้ง เช่น ในยุโรปมีโครงการ WRAP (Waste &Resources Action Program me) โดยมีห้างค้าปลีกจำนวนมากเข้าร่วมโครงการด้วย ในอังกฤษยังมีโครงการ Love Food, hate waste  และห้างค้าปลีกเองก็มีนโยบาย zero waste โดยหลายแห่งได้นำเศษอาหารและอาหารที่ขายไม่หมดไปแปรเป็นพลังงาน (waste to energy) 
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีกลุ่มคนที่หาเลี้ยงชีพจากอาหารที่ถูกทิ้งในถังขยะ เรียกว่า Freegan (มาจากคำว่า Fee + Vegan หรือมังสวิรัติ) ซึ่งพวก Freegan มีปรากฎทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และอเมริกาใต้


      ปัญหา Food waste นอกจากจะเป็นปัญหาที่สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของสังคมแล้ว ยังเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และบั่นทอนโอกาสทางสุขภาพอีกด้วย ซึ่งแม้ประเทศไทยจะยังไม่ประสบปัญหานี้แต่ก็ควรตระหนักและเร่งทามาตรการ เพื่อป้องกันปัญหานี้

 


ที่มา : รายงาน GLOBAL FOOD : WASTE NOT, WANT NOT. Institution of Mechanical Engineers