
ก๊าซเรือนกระจก สาเหตุโลกร้อนมาจากไหน
|
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่น ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ก๊าซเรือนกระจก ที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโลกร้อน แบ่ง 4 กลุ่ม
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจาก
- การเผาไหม้ในหลายรูปแบบ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ในรถยนต์ ในการหุงต้ม
- การเผาป่า เพื่อใช้พื้นที่อยู่อาศัย หรือทำการเกษตร หรือเผาหญ้าเผาฟางหลังการเก็บเกี่ยว
- การทำปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การทำฟาร์ม
- กาซมีเทน (CH4)เกิดจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ เช่น
- จากกทำนาข้าว หรือพืชที่ขังน้ำ และปศุสัตว์ (เลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่เป็นฟาร์ม)
- การเผาไหม้ของซากพืชหรือสัตว์
- การใช้งานโดยมีการเผาไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
- กลุ่มของสารประกอบ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs)
- จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การใช้เป็นสารสำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า วงจรคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์
- ครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารหล่อเย็นในตู้เย็น, เครื่องปรับอากาศ
- ของ ใช้ประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารขับดันในเครื่องกระป๋องที่เป็นสเปรย์ มูซ, ใช้เป็นส่วนประกอบพลาสติกที่เป็นโฟมใส่อาหารกล่อง ใส่เป็นวัสดุกันกระเทือนในบรรจุภัณฑ์, กลุ่มพลาสติกที่เป็นตัวดูดซับในผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก เป็นต้น
- ก๊าซ ไนตรัส ออกไซด์ (NO)
- การ ย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ โดยแบคทีเรียที่ใช้กรดไนตริกเป็นขบวนการผลิต เช่นในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยในลอน อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมพลาส
มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ คือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว
กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ กำลังเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ (อาจยกเว้นไอน้ำ) การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การทำการเกษตรและการปศุสัตว์ปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซโอโซน นอกจากนี้ กระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมปล่อยสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs)
การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกนั้น ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดยังมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential: GWP) ที่แตกต่างกัน ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของโมเลกุล และขึ้นอยู่กับอายุของก๊าซนั้นๆ ในบรรยากาศ และจะคิดเทียบกับการแผ่รังสีความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงระยะเวลา หนึ่ง เช่น 20 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี โดยค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในช่วงเวลา 100 ปี ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ เป็นดังนี้
ก๊าซเรือนกระจก
|
อายุในชั้บรรยากาศ (ปี)
|
ศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
(เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์) |
คาร์บอนไดออกไซด์ | 200-450 | 1 |
มีเทน | 9-15 | 23 |
ไนตรัสออกไซด์ | 120 | 296 |
CFC-12 | 100 | 10,600 |
เตตระฟลูออโรมีเทน | 50,000 | 5,700 |
ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ | 3,200 | 22,000 |
กาซที่ มีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโรคร้อนสูง มักหนัก เคลื่อนตัวช้า แต่เมื่อถูกพัดพากระจายไปถึงชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกร้อนมากกว่านับพันนับหมื่นเท่า
ที่มา:ข้อมูลจากการประปา.คอม
